1. ชองระอา
Barleriaiupulina Lindl.
ACANTHACEAE
ชื่ออื่น
เสลดพังพอน
เสลดพังพอนตัวผู้
|
รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม
สูงประมาณ 1 เมตร
มีหนามแหลมยาวข้อละ
2 คู่
กิ่งก้านสีน้ำตาลแดง
ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม
รูปใบหอกยาวหรือ
รูปขอบขนาน
กว้าง 1.8-2.5 ซม. ยาว 6-12 ซม.
ผิวใบเรียบมัน
สีเขียวเข้ม
เส้นกลางใบสีแดง
ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่ง
ยาวประมาณ 8 ซม.
ใบประดับค่อนข้างกลม
สีน้ำตาลแดงขนาดใหญ่
กลีบดอกสีเหลืองส้ม
โคนเชื่อมติดเป็นหลอด
ปลายแยกเป็น
2 ปาก
ปากบนมีกลีบขนาดใหญ่
4 กลีบ กลีบล่างเล็กกว่า
มี 1 กลีบ
ผล เป็นฝัก
รูปไข่
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ - ใช้ตำละเอียดผสมเหล้า
พอกหรือทา ถอนพิษอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อยและเริม
ราก - ใช้ฝนกับเหล้าทาถอนพิษตะขาบ
|
2. ทองหลาง
Indian Coral Tree
Erythrina variegata Linn.
FABACEAE
ชื่ออื่น
ทองบ้าน
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น
ผลัดใบ สูง 10 - 15 เมตร
ใบประกอบ
มีใบย่อย 3 ใบ
เรียงสลับ
ใบย่อยรูปไข่
หรือรูปแกมไข่สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่ง
กลีบดอกสีส้มหรือแดง
รูปดอกถั่ว
ผล เป็นฝักยาวคอดเป็นข้อๆ
สีน้ำตาลเข้ม
เมล็ดสีแสด
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ - ใช้ใบแก่สดรมควัน
ชุบน้ำสุกปิดแผล
และเนื้อร้ายที่บวม
ดูดหนองให้ไหลออกมา
และทำให้แผลยุบ
ใบคั่วใช้เป็นยาเย็น
ดับพิษ บดทาแก้ข้อบวม
|
3. เทียนบ้าน
Garden Balsam
Impatiens balsamina Linn.
BALSAMINACEAE
ชื่ออื่น
เทียนดอก
เทียนสวน
|
รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก
สูง 20 - 70 เมตร
ลำต้นอวบน้ำ
และค่อนข้างโปร่งแสง
ใบเดี่ยว
เรียงสลับเวียนรอบต้นรูปวงรี
กว้าง 2 - 4 ซม. ยาว 6 - 10 ซม.
ขอบใบหยักฟันเลื่อย
ดอกเดี่ยว
หรือช่อ 2 - 3 ดอก
ออกที่ซอกใบ
มีสีต่างๆ
เช่น ขาว
ชมพู แดง ม่วง
ผลแห้ง
รูปรี
เมื่อแก่จัดจะแตกเป็นริ้วตามยาว
ม้วนขมวด ดีดเมล็ดกลมสีน้ำตาลออกมา
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ - ใช้ใบสดตำละเอียดพอกแก้เล็บขบ
รักษาฝีหรือแผลพุพอง
น้ำคั้นใบสด
ใช้ย้อมผมแทนใบเทียนกิ่ง
แต่เวลาใช้ต้องระวัง
เพราะสีจะติดเสื้อผ้า
และร่างกาย
มีรายงานว่าสารสกัดแอลกอฮอล์ของใบมีสาร
lowsone ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อราที่ทำให้เป็นโรคกลาก
และฮ่องกงฟุตได้
|
4. ผักคราดหัวแหวน
Para Cress
Spilanthes acmella Murr.
ASTERACEAE
ชื่ออื่น
ผักคราด ผักตุ้มหู
ผักเผ็ด
|
รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก
สูง 30 - 40 ซม.
ลำต้นค่อนข้างกลม
อวบน้ำ
อาจมีสีม่วงแดง
ต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน
ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม
รูปสามเหลี่ยม
กว้าง 3 - 4 ซม. ยาว 3 - 6 ซม.
ขอบใบหยักฟันเลื่อย
ดอกช่อ
ออกที่ซอกใบ
รูปกรวยคว่ำ
สีเหลืองอ่อน
ผลแห้ง
รูปไข่
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ต้น - ใช้ต้นสดตำผสมเหล้า
หรือน้ำส้มสายชู
อมแก้ฝีในลำคอ
หรือต่อมน้ำลายอักเสบ
ทำให้ลิ้นชา
แก้ไข้
ยาพื้นบ้านใช้อุดแก้ปวดฟัน
พบว่าใบ
ช่อดอก
และก้านช่อดอกมีสาร
spilanthol ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่
การทดลองฤทธิ์ชาเฉพาะที่ในสัตว์
และคนปกติ โดยใช้สารสกัดทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์เทียบกับยาชา
lidocaine พบว่าได้ผลเร็วกว่า
แต่ระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้นกว่า
อยู่ระหว่างการวิจัย
เพื่อใช้เป็นยาชาอุดแก้ปวดฟัน
|
5. ไพล
Zingiber purpureum Rosc.
ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น
ปูลอย ปูเลย ว่านไฟ
|
รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก
สูง 0.7 - 1.5 เมตร
มีเหง้าใต้ดิน
เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง
เนื้อในสีเหลืองแกมเขียว
มีกลิ่นเฉพาะ
แทงหน่อ
หรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ
ประกอบด้วยกาบ
หรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน
ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
รูปขอบขนานแกมใบหอก
กว้าง 3.5 - 5.5 ซม. ยาว 18 - 35 ซม.
ดอกช่อ
แทงจากเหง้าใต้ดิน
กลีบดอกสีนวล
ใบประดับสีม่วง
ผลแห้ง
รูปกลม
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เหง้า - ใช้เหง้าสดเป็นยาภายนอก
โดยฝนทาแก้เคล็ดยอก
ฟกบวม
เส้นตึง
เมื่อยขบ
เหน็บชา
สมานแผล จากการวิจัยพบว่า
ในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหย
ซึ่งมีคุณสมบัติลดอาการอักเสบ
และบวม จึงมีการผลิตยาขึ้ผึ้งผสมน้ำมันไพล
เพื่อใช้เป็นยาทาแก้อาการเคล็ดขัดยอก
น้ำมันไพลผสมแอลกอฮอล์
สามารถทากันยุงได้
ใช้เหง้ากินเป็นยาขับลม
ขับประจำเดือน
มีฤทธิ์ระบายอ่อนๆ
แก้บิด
สมานลำไส้ นอกจากนี้พบว่าในเหง้ามีสาร
4-(4-hydroxy-1-butenyl)veratrole ซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดลม
ได้ทดลองใข้ผงไพลกับผู้ป่วยเด็กที่เป็นหิด
สรุปว่าให้ผลดี
ทั้งในรายที่มีอาการหอบหืดแบบเฉียบพลัน
และเรื้อรัง
|
6. มะกอก
Hog Plum
Spondias pinnata (Linn. f.) Kurz
ANACARDIACEAE
ชื่ออื่น
กอกกุก กูก
กอกเขา
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น
สูง 15 - 25 เมตร
กิ่งก้านมีช่องอากาศ
กระจัดกระจาย
ใบประกอบรูปขนนก
เรียงสลับ ใบย่อย
9 - 13 ใบ
รูปวงรีแกมไข่กลับ
กว้าง 3 - 4 ซม. ยาว 7 - 12 ซม.
ใบย่อยบริเวณโคนต้น
ฐานใบเบี้ยว
ดอกช่อแยกแขนง
ออกที่ปลายกิ่ง
หรือซอกใบของกิ่งที่ใบร่วง
ดอกย่อยจำนวนมาก
ขนาดเล็ก
สีขาวครีม
ผลเป็นผลสด
รูปไข่
มีเนื้อฉ่ำน้ำ
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ - ใช้น้ำคั้นจากใบหยอดแก้ปวดหู
ผล
เปลือก ใบ - กินเป็นยาบำรุงธาติ
ช่วยให้ชุ่มคอ
แก้กระหายน้ำ
เลือดออกตามไรฟัน
เนื้อ - เนื้อในผลแก้ธาติพิการ
เพราะน้ำดีไม่ปกติ
และกระเพาะอาหารพิการ
แก้บิด
ใบ - แก้ปวดท้อง
|
7. มะขวิด
Elephant's Apple, Wood Apple, Kavath, Gelingga
Feronia limonia Swing.
RUTACEAE
ชื่ออื่น
มะฟิด
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น
สูง 6 - 10 เมตร
ใบประกอบแบบขนนก
เรียงสลับ
ใบย่อย 5 หรือ 7 ใบ
บางครั้งมี 3, 6 หรือ 9 ใบ
รูปขอบขนานแกมไข่กลับ
กว้าง 0.5 - 1 ซม. ยาว 1.5 - 4.5 ซม.
เนื้อใบมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ที่บริเวณขอบใบ
ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่ง
หรือซอกใบ
ประกอบด้วยดอกตัวผู้
และดอกสมบูรณืเพศอยู่ในต้นเดียวกัน
กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียวเจือด้วยสีแดง
ผลสด
รูปทรงกลม เมื่อสุกสีเทาแกมน้ำตาล
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ - ตำพอกหรือทาแก้ปวดบวม
รักษาผี และโรคผิวหนังบางชนิด
แก้ท้องเสีย
แก้ตกเลือด
และห้ามระดู
พบว่าสารสกัดใบยับยั้ง
การเจริญเติบโตของเชื้ออหิวาตกโรค
ในหลอดทดลอง
|
8. รางจืด
Thunbergia laurifolia Linn.
THUNBERGIACEAE
ชื่ออื่น
กำลังช้างเผือก
ขอบชะนาง เครือเขาเขียว
ยาเขียว คาย
รางเย็น
ดุเหว่า
ทิดพุด
น้ำนอง
ย่ำแย้ แอดแอ
|
รูปลักษณะ
ไม้เถาเนื้อแข็ง
ใบเดี่ยว
รูปขอบขนานหรือรูปไข่
กว้าง 4-7 ซม. ยาว 8-14 ซม.
ขอบใบเว้าเล็กน้อย
ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่ง
กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน
ใบประดับสีเขียวประสีน้ำตาลแดง
ผลแห้ง
แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบสด - ใช้คั้นน้ำ
แก้ไข้
ถอนพิษต่าง
ๆ ในร่างกาย เช่น
อาการแพ้อาหาร
เป็นต้น
การทดลองเพื่อใช้แก้พิษ
ที่เกิดจากยาฆ่าแมลงโพลิดอลในสัตว์
ได้ผลดีพอควร
สรุปได้ว่า
อาจใช้น้ำคั้นใบสด
ให้ผู้ป่วยที่กินยาฆ่าแมลง
ดื่มเป็นการปฐมพยาบาล
ก่อนนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้
แต่จะไม่ให้ผลในการกินเพื่อป้องกัน
ก่อนสัมผัสยาฆ่าแมลง
|
9. ว่านหางช้าง
Black Berry
Lily, Leopard Flower
Belamcanda chinensis (Linn.) DC.
IRIDACEAE
ชื่ออื่น
ว่านมีดยับ
|
รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก
สูง 0.6 - 1.2 เมตร
มีเหง้าเลื้อยตามแนวขนานกับพื้นดิน
ใบเดี่ยว
แทงออกจากเหง้า
เรียงซ้อนสลับ
กว้าง 2 - 3 ซม. ยาว 30 - 45 ซม.
เนื้อใบค่อนข้างหนา
ดอกช่อ
ออกที่ปลายยอด
กลีบดอกสีส้มมีจุดประสีแดงกระจาย
ผลแห้ง
เมื่อแก่จะแตกอ้า
และกระดกกลับไปด้านหลัง
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใช้เป็นยาระบาย
แก้ระดูพิการ
เหง้า - ตำราจีนใช้เหง้าเป็นยาแก้ไอ
ขัเสมหะ ยาถ่าย
แก้ไข้ บำรุงธาติ
พบว่ามีสารบางชนิดที่เป็นพิษ
จึงควรระวังในการใช้กิน
การทดลองกับผู้ป่วย
พบว่าน้ำต้มเหง้า
ใช้ชะล้างแก้อาการผื่นคันได้ผลดี
|
10. เสม็ด
Cajuput Tree, Paper Bark Tree, Swamp Tea, Milk Wood
Melaleuca cajuputi Powell
(M. leucadendra Linn. var. minor Duthie)
MYRTACEAE
ชื่ออื่น
เม็ด เหม็ด
เสม็ดขาว
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น
เปลือกต้นมักล่อนเป็นแผ่นคล้ายเยื่อกระดาษ
สูงได้ถึง 15 เมตร
กิ่งก้านห้อยลง
ใบเดียว
เรียงสลับ
รูปวงรี
แกมขอบขนาน
หรือรูปใบหอก
กว้าง 0.5 - 1 ซม. ยาว 4 - 8 ซม.
ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่ง
ห้อยหัวลง
ดอกย่อยเรียงเป็นวง
กลีบดอกสีขาว
เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก
ผลแห้ง
แตกได้ มี 3 พู
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ - ใช้น้ำมันที่กลั่นได้จากใบสดทาแก้เคล็ด
เมื่อย ปวด
บวม
|