1. กฤษณา
Eagle Wood
Aquilaria crassna Pierre ex H. Lee
THYMELAEACEAE

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกเรียบสีเทา เนื้อไม้อ่อนสีขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้างประมาณ 6 ซม.ยาว 12 ซม. ผิวเป็นมัน ดอกช่อ ออกเป็นช่อเล็ก ๆ ที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาวแกมเขียว ผลแห้ง รูปวงรี เปลือกแข็ง มีขนสีเทา เมื่อแก่จะแตก กลีบเลี้ยงเจริญติดอยู่กับผล
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
แก่น - แก่นไม้กฤษณาที่มีสีดำและมีกลิ่นหอม ใช้ผสมยาหอม แก้อ่อนเพลียบำรุงกำลัง แก้ลมวิงเวียนศีรษะ คุมธาตุ บำรุงโลหิตและหัวใจ อาเจียน ท้องร่วง แก้ไข้ต่าง ๆ บำบัดโรคปวดบวมตามข้อ ปัจจุบันนี้ หาเนื้อไม้กฤษณาเพื่อใช้ทำยายากขึ้น และมีราคาแพง


 

2. กันเกรา
Tembusu
Fagraea fragrans Roxb.
POTALIACEAE
ชื่ออื่น ตำเสา ทำเสา มันปลา

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี กว้าง 4-6 ซม. ยาว 8-12 ซม. แผ่นใบบางแต่เหนียว
ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบตอนปลายกิ่ง เมื่อเริ่มบาน กลีบดอกสีขาว ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม
ผล เป็นผลสด รูปทรงกลม สีแดง
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ - ใช้บำรุงธาตุ แก้ไข้จับสั่น แก้หืดและรักษาโรคผิวหนังพุพอง


 

3. จันทน์เทศ
Nutmeg Tree
Myristica fragrans Houtt.
MYRISTICACEAE
ชื่ออื่น จันทน์บ้าน

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 5-18 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี แกมขอบขนานหรือรูปไข่กลับแกมขอบขนาน กว้าง 4-5 ซม. ยาว 10-15 ซม. ผิวใบมัน ดอกเดี่ยว หรือช่อ 2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่คนละต้น ดอกย่อยรูปคนโท ขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน ผล เป็นผลสด ค่อนข้างฉ่ำน้ำ รกหุ้มเมล็ดสีแดงเรียกว่า "ดอกจันทน์" มีเมล็ดเดียว สีน้ำตาล เปลือกแข็ง เรียกว่า "ลูกจันทน์"
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ลูกจันทน์ - ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ขับลม แก้ปวดมดลูก แก้ท้องร่วง ธาตุพิการ
ดอกจันทน์ - ใช้บำรุงโลหิต
ลูกจันทน์และดอกจันทน์ - ใช้เป็นเครื่องเทศ ช่วยแต่งกลิ่นอาหารด้วย
แก่น - ใช้ลดไข้ บำรุงตับและปอด


 

4. บัวหลวง
Lotus
Nelumbo mucifera Gaerth.
NELUMBONACEAE
ชื่ออื่น บัว สัตตบงกช สัตตบุษย์ อุบล

รูปลักษณะ
ไม้น้ำอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดินยาวและเป็นปล้อง ใบเดี่ยว รูปโล่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 30-60 ซม. ผิวใบมีนวล ก้านใบยาวชูขึ้นเหนือน้ำ ดอกเดี่ยว แทงออกจากเหง้า ด้านดอกยาว ชูดอกขึ้นเหนือน้ำ กลีบดอกสีขาวหรือชมพู เกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก ติดอยู่รอบฐานดอกรูปกรวย ผลแห้ง รูปรี จำนวนมาก ฝังอยู่ในฐานรองดอก
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เกสร - เกสรบัวหลวง เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้ผสมในยาหอมบำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง แก้อาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ


 

5. บุนนาค
Iron Wood
Mesua ferrea Linn.
CLUSIACEAE
ชื่ออื่น สารภีดอย

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ลำต้นตรง ใบอ่อนสีแดง ใบเดี่ยว รูปใบหอก กว้าง 2-4 ซม. ยาว 7-12 ซม. เนื้อในบาง เหนียว ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นคู่ที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก กลิ่นหอมเย็น ผลเป็นผลสด
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ดอกสด - มีน้ำมันหอมระเหย
ดอกแห้ง - จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้เป็นยาฝาดสมาน บำรุงธาตุและขับลม บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ


 

6. มะตูม
Bael Fruit Tree, Bengal Quince
Aegle marmelos (Linn.) Corr.
RUTACEAE
ชื่ออื่น กะทันตาเถร ตุ่มตัง ตูม มะปิน

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงสลับ ใบย่อย 3 ใบ รูปวงรี หรือรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 2-7 ซม. ยาว 4-13 ซม. ขอบใบหยักมน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ และที่ปลายกิ่ง กลีบดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ด้านในสีนวล ใบและดอกมีกลิ่นหอม ผล เป็นผลสด เนื้อในสีเหลือง มีน้ำเมือก
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ผลดิบแห้ง - ใช้ชงดื่ม ทำให้สดชื่น หายอ่อนเพลีย แก้ท้องเสีย แก้บิด
ผลสุก - เป็นยาระบาย ช่วยย่อยอาหาร


 

7. มะพร้าว
Coconut
Cocos nucifera Linn.
ARECACEAE
ชื่ออื่น หมากอุ๋น หมากอูน

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้นจำพวกปาล์ม สูงได้ถึง 25 เมตร ลำต้นตั้งตรง ไม่แตกกิ่ง มีรอยแผลเมื่อก้านใบหลุดออกไป ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ หนาแน่นที่บริเวณยอด ยาว 4-6 เมตร ใบย่อยรูปพัดจีบ กว้าง 1.5-5 ซม. ยาว 50-100 ซม. ดอกช่อ ออกระหว่างก้านใบ ดอกย่อยจำนวนมาก แยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้สีเหลืองหม่น ดอกตัวเมียสีเขียว หรือเขียวแกมเหลือง ใบประดับยาว 60-90 ซม. ผล เป็นผลสด รูปใข่แกมทรงกลมหรือรูปไข่กลับ สีเขียวหรือเขียวแกมเหลือง เนื้อสีขาว
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
น้ำมะพร้าว - มีเกลือโปแตสเซียมและน้ำตาลกลูโคสสูง อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูง มีเกลือคลอไรด์และโซเดียมต่ำกว่าผงน้ำตาลเกลือแร่ สูตรองค์การอนามัยโลก ที่ใช้กับโรคท้องเสีย ทำให้ชุ่มคอ บำรุงธาตุไฟ ช่วยกระตุ้นการหายใจ มีฤทธิ์ขับปัสสาวะเล็กน้อย


 

8. มะลิลา
Arabian Jasmine
Jasminum sambac Ait.
OLEACEAE
ชื่ออื่น ข้าวแตก มะลิ มะลิขี้ไก่ มะลิป้อม มะลิหลวง

รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร ใบประกอบ ชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงตรงข้าม รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. สีเขียวแกมเหลือง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม มะลิลามีกลีบดอกชั้นเดียว ส่วนมะลิซ้อนมีกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น ผลเป็นผลสด
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ดอกแห้ง - จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้ปรุงยาหอม ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้ไข้


 

 

9. หนามแดง
Maytenus marcanii (Craib) Ding Hou
CELASTRACEAE

รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูง 3-4 เมตร กิ่งก้านมีหนามแหลมยาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-9 ซม. ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาวนวล ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู เมล็ดสีน้ำตาล
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
แก่น - ใช้บำรุงธาตุ บำรุงไขมัน เหมาะสำหรับคนผอม
ราก - แก้ไข้