1. กระเบา
Chaulmoogra

Hydnoccarpus anthelminthicus Pierre
FLACOURTIACEAE
ชื่ออื่น กระเบาน้ำ กระเบาเบ้าแข็ง กระเบาใหญ่ กาหลง เบา

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 10 - 20 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 3 - 6 ซม. ยาว 10 - 12 ซม.
ดอกเดี่ยวหรือช่อสั้นๆ ออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น ต้นตัวเมียเรียกว่า กระเบาต้นตัวผู้ เรียกว่าแก้วกาหลง กลีบดอกสีม่วงแดงจางๆ
ผลเป็นผลสด รูปกลม เปลือกหนา มีขนกำมะหยี่สีน้ำตาล มีเมล็ดจำนวนมาก
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เมล็ด - ใช้น้ำมันที่บีบจากเมล็ด รักษาโรคเรื้อน และโรคผิวหนังอื่นๆ มีรายงานวิจัยว่าน้ำมันที่บีบจากเมล็ดโดยไม่ใช้ความร้อน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคเรื้อนและวัณโรค


 

2. กลิ้งกลางดง
Stephania venosa (BP.) Spreng.
MENISPERMACEAE
ชื่ออื่น สบู่เลือด

รูปลักษณะ
ไม้เลื้อย กิ่งก้านมีน้ำยางสีแดง ลำต้นบนดินมีอายุปีเดียว งอกมาจากหัวใต้ดินขนาดใหญ่
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมสามเหลี่ยมกว้าง ขอใบเว้าเล็กน้อย กว้าง 7 - 12 ซม. ยาว 6 - 11 ซม. ผิวใบด้านล่างมีขนละเอียดเล็กน้อย
ดอกช่อ แยกเพศ ช่อดอกตัวผู้ยาวประมาณ 4 - 16 ซม. กลีบดอกสีส้ม ช่อดอกตัวเมียอัดกันแน่นมากกว่า
ผลเป็นผลสด รูปไข่กลับ
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เถา - ใช้เถาขับพยาธิ
ราก - บำรุงเส้นประสาท
หัวใต้ดิน - ดองเหล้ากินบำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด หรือตากแห้ง บด ปั้นเป็นลูกกลอน กินเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยเจริญอาหาร
ใบ - รักษาแผลสด และแผลเรื้อรัง


 

3. จำปา
Orange Chempaka
Michelia champaca Linn.
MAGNOLIACEAE
ชื่ออื่น จำปาเขา จำปาทอง จำปาป่า

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 15-25 เมตร ยอดอ่อนมีใบเกล็ดหุ้ม
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรี หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 5-10 ซม. ยาว 12-20 ซม. ท้องใบมีขนนุ่ม
ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีเหลืองส้ม กลิ่นหอม
ผลเป็นผลกลุ่ม ผลย่อยติดบนแกนเป็นช่อยาว เมื่อแก่จะแตก
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ดอก - มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ดอกแห้งปรุงยาหอม บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท บำรุงโลหิต แก้คลื่นไส้ แก้ไข้ ขับปัสสาวะ จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งเจ็ด รักษาโรคเรื้อนและหิด


 

4. ทองพันชั่ง
Rhinacanthus nasutus (Linn.) Kurz.
ACANTHACEAE
ชื่ออื่น ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่

รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนมักเป็นสันสี่เหลี่ยม
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม.
ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีจุดสีม่วงแดง
ผลแห้ง แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบสด, ราก - ใช้ใบสดและรากโขลกละเอียด แช่เหล้าโรง 1 สัปดาห์ เอาน้ำเหล้าทาแก้กลากเกลื้อน สารสำคัญ คือ rhinacanthin และ oxymethylanthraquinone


 

5. รามใหญ่
Ardisia elliptica Thunb.
MYRSINACEAE

รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม สูง 1.5 - 3 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 3 - 5 ซม. ยาว 7 - 15 ซม. ใบหนา ผิวเรียบ
ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวแกมชมพูจางๆ
ผลเป็นผลสด เมื่อสุกสีดำ
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ลำต้น - แก้โรคเรื้อน พบเม็ดสี (pigment) สีส้มทองชื่อ rapanone ในเปลือกต้น ซึ่งเมื่อใช้ทดลองกับหนูที่ติดเชื้อโรคเรื้อน โดยให้ยาติดต่อกัน 6 เดือน - 1 ปี สามารถลดการเพิ่มจำนวนของเชื้อดังกล่าวได้ รากแก้กามโรค และหนองใน ผลแก้ไข้ท้องเสีย


 

6. ลำโพงขาว
Thorn Apple

Datura metel Linn.
ชื่ออื่น มะเขือบ้า
ลำโพงกาสลัก
D. metel Linn. var. Fastuosa Safford
SOLANACEAE
ชื่ออื่น กาสลัก มะเขือบ้าดอกดำ

รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 1-2 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. ขอบใบหยักซี่ฟันหยาบ ๆ ฐานใบมักไม่เสมอกัน
ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบเลี้ยงสีเขียวติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณครึ่งหนึ่ง ของความยาวดอก กลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายบานออกเป็นรูปแตร
ผลแห้ง แตกได้ มีขนหนาคล้ายหนาม ลำโพงขาวมีกิ่งก้านลำต้นสีเขียว กลีบดอกสีขาวชั้นเดียว ผลกลม ลำโพงกาสลัก มีกิ่งก้าน ลำต้นสีม่วปนเขียวถึงสีม่วงเข้ม กลีบดอกสีม่วง 2-3 ชั้นซ้อนกัน ผลรูปรี
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เมล็ด - ใช้หุงทำน้ำมันใส่แผล แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน
ใบ - ใช้ใบสดตำพอกฝี แก้ปวดบวมอักเสบ ใบและยอด มีแอลคาลอยด์ hyoscyamine และ hyoscine ใช้แก้อาการปวดท้องเกร็ง และขยายหลอดลม ใช้แก้หอบหืดได้
ดอก - ใช้สูบแก้อาการหอบหืด


 

7. โล่ติ๊น
Tuba Root, Derris

Derris elliptica (Roxb.) Benth.
FABACEAE
ชื่ออื่น กะลำเพาะ เครือไหลน้ำ หางไหลแดง ไหลน้ำ อวดน้ำ

รูปลักษณะ
ไม้เถาเนื้อแข็ง
ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่กลับแกมใบหอก หรือรูปไข่กลับแกมขอบขนาน กว้าง 5 - 7 ซม. ยาว 10 - 20 ซม.
ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยรูปดอกถั่ว กลีบดอกสีชมพูแกมม่วง
ผลเป็นฝัก
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ราก - ใช้รากฆ่าเหาและเรือด ฆ่าแมลง เบื่อปลาโดยนำรากมาทุบ แช่น้ำทิ้งไว้ ใช้เฉพาะส่วนน้ำ พบมีสารพิษชื่อ rotenone ซึ่งสลายตัวง่าย ถ้าใช้ฆ่าแมลง จะไม่มีพิษตกค้าง