1. กันเกรา
Tembusu
Fagraea fragrans
Roxb.
POTALIACEAE
ชื่ออื่น
ตำเสา ทำเสา มันปลา
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น
สูง 10-15 เมตร
ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม
รูปวงรี
กว้าง 4-6 ซม. ยาว 8-12 ซม.
แผ่นใบบางแต่เหนียว
ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบตอนปลายกิ่ง
เมื่อเริ่มบาน
กลีบดอกสีขาว
ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
กลิ่นหอม
ผล เป็นผลสด
รูปทรงกลม
สีแดง
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ - ใช้บำรุงธาตุ
แก้ไข้จับสั่น
แก้หืดและรักษาโรคผิวหนังพุพอง
|
2. ข่อย
Siamese Rough Bush, Tooth Brush Tree
Streblus aspera
Lour.
MORACEAE
ชื่ออื่น
กักไม้ฝอย
ส้มพอ
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น
มีน้ำยางขาว
สูง 5-15 เมตร
ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
รูปไข่แกมขอบขนาน
รูปวงรี หรือรูปไข่กลับ
กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม.
ผิวใบสากคาย
ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ
แยกเพศอยู่คนละต้น
ช่อดอกตัวผู้เป็นช่อกลม
ช่อดอกตัวเมียออกเป็นกระจุกมี
2-4 ดอกย่อย
กลีบดอกสีเหลือง
ผลสด
รูปไข่ เมื่อสุกสีเหลือง
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เปลือกต้น - แก้โรคผิวหนัง
รักษาแผล หุงเป็นน้ำมันทารักษาริดสีดวงทวาร
รักษารำมะนาด
แก้ท้องร่วง
เมล็ด - ผสมกับหัวแห้วหมู
เปลือกทิ้งถ่อน
เปลือกตะโกนา
ผลพริกไทยแห้ง
และเถาบอระเพ็ด
ดองเหล้าหรือต้มน้ำดื่ม
เป็นยาอายุวัฒนะ
|
3. พญาไร้ใบ
Milk Bush
Euphorbia tirucalli Linn.
EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น
เคียะจีน
พญาร้อยใบ เคียะเทียน
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น
ขนาดเล็กสูง
4 - 7 เมตร
ไม่มีหนาม
มีน้ำยางสีขาวมาก
อวบน้ำ แตกกิ่งก้านสาขามากกิ่ง
รูปทรงกระบอก
สีเขียว
เกลี้ยง
ใบเดี่ยว
ออกเฉพาะที่ข้อส่วนปลายยอด
ลดรูปเป็นแผ่นขนาดเล็ก
ร่วงง่าย
ดอกช่อ
ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง
ใบประดับสีเหลืองอ่อน
ดอกตัวผู้และตัวเมีย
ไม่มีกลีบดอก
อยู่ในช่อเดียวกัน
ผล แห้ง
แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ยาง - พญาไร้ใบจัดเป็นพืชมีพิษ
เมื่อสัมผัสกับน้ำยางขาวจากต้นจะทำให้ผิวหนังอักเสบ
บวมเป็นผื่นแดง
หากเข้าตาอาจทำให้ตาบอด
ใช้ยางขาวแต้มกัดหูด
หัวริดสีดวงทวาร
ในยางขาวมีสาร
4 deoxyphorbol และอนุพันธ์
ซึ่งมีฤทธิ์ระคายเคืองอย่างแรง
และเป็นสารร่วมก่อมะเร็ง
จึงควรระวังในการใช้
|
4. เพชรสังฆาต
Cissus quadrangularis
Linn.
VITACEAE
ชื่ออื่น
ขั่นข้อ
สันชะควด
สามร้อยต่อ
|
รูปลักษณะ
ไม้เลื้อย
ลำต้นรูปสี่เหลี่ยมเป็นครีบ
ผิวเรียบ มีรอยคอดบริเวณข้อ
ใบเดี่ยว
ออกข้อละ 1 ใบ
บริเวณปลายเถาตรงข้ามใบมีมือเกาะ
รูปสามเหลี่ยมหรือรูปไข่
กว้าง 3 - 8 ซม. ยาว 4 - 10 ซม.
ขอบใบหยักมน
เนื้อใบค่อนข้างหนา
ดอกช่อ ออกตรงข้ามใบ
ดอกย่อยขนาดเล็ก
กลีบดอกด้านนอกสีเขียวแกมเหลือง
โคนกลีบมีแถบสีแดง
กลีบด้านในสีขาวแกมเขียว
ผล เป็นผลสด
รูปกลม
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เถา - ใช้เถาสดกินแก้ริดสีดวงทวาร
วันละ 1 ปล้องจนครบ
3 วัน
โดยหั่นบางๆ
ใช้เนื้อมะขามเปียก
หรือเนื้อกล้วยสุกหุ้มกลืนทั้งหมด
เพราะในเถาสดมีผลึกแคลเซียมออกซาเลตมาก
อาจทำให้คันคอ
|
5. ลั่นทมขาว
Evergreen Frangipani, Graveyard Flower
Plumeria obtusa
Linn.
APOCYNACEAE
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก
สูง 3-6 เมตร
ทุกส่วนมีน้ำยางขาว
ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
รูปใบหอกกลับ
กว้าง 5-8 ซม. ยาว 20-32 ซม. ดอกช่อ
กระจุกแยกแขนง
ออกที่ปลายกิ่ง
ดอกย่อยหลายดอก
กลีบดอกสีขาว
เชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปกรวย
มีกลิ่นหอม ผลแห้งเป็นฝักคู่สีม่วงแกมน้ำตาล
เมล็ดมีขนสีขาว
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ฝัก - ใช้ฝนทาแก้ริดสีดวงทวาร
|
6. ลั่นทมแดง
West Indian Red Jasmine
Plumeria rubar Linn.
APOCYNACEAE
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก
สูง 3-6 เมตร
ทุกส่วนมีน้ำยางขาว
ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
รูปใบหอกกลับ
กว้าง 5-10 ซม. ยาว 20-25 ซม.
ดอกช่อ
กระจุกแยกแขนง
ออกที่ปลายกิ่ง
ดอกย่อยหลายดอก
กลีบดอกสีแดง
เชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปกรวย
มีกลิ่นหอม
ผลแห้งเป็นฝักคู่สีม่วงแกมน้ำตาล
เมล็ดมีขนสีขาว
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ฝัก - ใช้ฝนทาแก้ริดสีดวงทวาร
เช่นเดียวกับฝักลั่นทมขาว
|
7. อัคคีทวาร
Clerodendrum serratum
(Linn.) Moon
var. serratum Schau.
VERBENACEAE
ชื่ออื่น
แข้งม้า แคว้งค่า
ชะรักป่า
หมอกนางต๊ะ
หลัวสามเกียน
ผ้าห้ายห่อคำ
หมักก้านต่อ
หูแวง ฮังตอ
มักแค้งข่า
|
รูปลักษณะ
ไม้พุ่มขนาดเล็ก
สูง 1 - 4 เมตร
ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม
รูปขอบขนาน
รูปขอบขนานแกมใบหอก
หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ
กว้าง 4 - 6 ซม. ยาว 15 - 20 ซม.
ขอบใบหยักฟันเลื่อย
ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่ง
กลีบดอก 5 กลีบ
กลีบกลางสีม่วงเข้ม
กลีบข้างสี่กลีบสีฟ้าสด
รูปค่อนข้างกลม
หรือรูปไข่กลับกว้าง
เมื่อสุกสีม่วงเข้มหรือดำ
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ - ใช้ใบแห้งบดเป็นผง
กินแก้ริดสีดวงทวาร
ยาพื้นบ้านใช้ใบแห้ง
ป่นเป็นผงโรยในถ่านไฟ
เอาควันเผารมหัวริดสีดวงทวารให้ยุบ
รากและต้น - ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้น
เกลื่อนหัวริดสีดวงทวาร
|