พิกัดตรีผลา
|
ประกอบด้วย
ผลสมอไทย ผลสมอพิเภก
ผลมะขามป้อม
|
พิกัดตรีกฏุก
|
ประกอบด้วย
ผลพริกไทย
เหง้าขิงแห้ง
ผลดีปลี
|
พิกัดตรีกาฬพิษ
|
ประกอบด้วย
รากกระชาย
เหง้าข่า
รากกะเพราแดง
|
พิกัดจตุกาลธาตุ
|
ประกอบด้วย
เหง้าว่านน้ำ
เปลือกแคแตร
รากนมสวรรค์
รากเจตมูลเพลิงแดง
|
พิกัดเบญจกูล
|
ประกอบด้วย
รากเจตมูลแดง
เหง้าขิงแห้ง
ผลดีปลี
รากช้าพลู
เถาสะค้าน
|
พิกัดเบญโลกวิเชียร
|
ประกอบด้วย
รากมะเดื่อชุมพร
รากชิงชี่
รากท้าวยายม่อม
รากคนทา
รากย่านาง
|
1. สมอไทย
Myrobalan Wood
Terminalia
chebula Retz.
COMBRETACEAE
ชื่ออื่น สมออัพยา
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น
สูง 20-35 เมตร
เปลือกต้นขรุขระ
ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม
รูปวงรี
กว้าง 6-10 ซม. ยาว 8-15 ซม. ดอกช่อ
ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด
เป็นดอกสมบูรณ์เพศ
กลีบสีเหลือง
ผลเป็นผลสด
รูปวงรี
มีสัน 5 สัน
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ผลแก่ดิบ - ใช้เป็นยาระบาย
ขับเสมหะ
แก้บิด แก้ไข้
|
2. สมอพิเภก
Beleric Myrobalan
Terminalia
bellirica (Gaertn.) Roxb.
COMBRETACEAE
ชื่ออื่น ลัน
สมอแหน แหน
แหนขาว แหนต้น
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น
สูง 25-50 เมตร ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
รูปไข่กลับแกมวงรี
กว้าง 5-10 ซม. ยาว 10-20 ซม. ดอกช่อ
ออกที่ซอกใบ
ขนาดเล็ก
เป็นดอกสมบูรณ์เพศ
และดอกตัวผู้อยู่บนต้นเดียวกัน
กลีบสีเหลือง
ผลเป็นผลสด
ค่อนข้างกลม
มีสัน 5 สัน
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ผลดิบ - ใช้เป็นยาระบาย
ขับเสมหะ
ผลดิบ - มีฤทธิ์ฝาดสมาน
แก้ท้องเสีย
|
3. มะขามป้อม
Emblic Myrobalan, Malacca Tree
Phyllanthus
emblica Linn.
EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น กำทวด
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น
สูง 8-20 เมตร ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
รูปขอบขนาน
กว้าง 0.25-0.5 ซม. ยาว 0.8-1.2 ซม. ดอกช่อ
ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ
แยกเพศ
อยู่บนต้นเดียวกัน
ดอกย่อยสีนวล
ผลเป็นผลสด
รูปกลม
ผิวเรียบ
มีเส้นพาดตามยาว
6 เส้น
เมล้ด กลม สีเขียวเข้ม
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เนื้อผลแห้งหรือสด - รับประทานขับเสมหะ
ทำให้ชุ่มคอ
ผลแห้งต้มกินแก้ไข้
น้ำคั้นผลสดแก้ท้องเสีย
ขับปัสสาวะ มีวิตามินซีใช้แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน
|
4. พริกไทย
Pepper
Piper nigrum Linn.
PIPERACEAE
ชื่ออื่น พริกน้อย
|
รูปลักษณะ
ไม้เถาเนื้อแข็ง
รากฝอยออกบริเวณข้อ
เพื่อใช้ยึดเกาะข้อโป่งนูน
ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
รูปไข่ กว้าง
5-8 ซม. ยาว 8-11 ซม. ดอกช่อ
ออกที่ซอกใบ
ดอกย่อยสมบูรณืเพศ
สีขาวแกมเขียว
ผลสด กลม
จัดเรียงตัวแน่นอยู่บนแก้ม
ผลอ่อนสีเขียว
เมื่อสุกมีสีแดง
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
พริกไทยเป็นเครื่องเทศ
ใช้แต่งกลิ่นรสและช่วยถนอมอาหาร
ผล - ใช้เป็นยาขับลม
แก้อาการท้องอืดเฟ้อ
บำรุงธาตุ
เจริญอาหาร ขับเหงื่อ
ขับปัสสาวะและกระตุ้นประสาท
พบว่าผลมีน้ำมันหอมระเหยและแอลคาลอยด์ piperine
พริกไทยที่มีขายในท้องตลาดมี
2 ชนิด
คือ
- พริกไทยดำ เป็นผลแก่แต่ยังไม่สุก
นำมาตากแห้ง
- พริกไทยล่อน ได้จากผลสุกที่นำมาแช่น้ำ
เพื่อลอกเปลือกชั้นนอกออก
แล้วจึงตากให้แห้ง
|
5. ขิง
Ginger
Zingiber
officinale Rosc.
ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น ขิงแกลง
ขิงแดง
ขิงเผือก
|
รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก
สูง 0.3-1 เมตร
มีเหง้าใต้ดิน
เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง
เนื้อในสีนวลมีกลิ่นเฉพาะ
แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นมาจากดิน
ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
รูปขอบขนาน
แกมใบหอก กว้าง
1.5-2 ซม. ยาว 15-20 ซม. ดอกช่อ
แทงออกจากเหง้า
กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว
ใบประดับสีเขียวอ่อน
ผลแห้ง มี 3 พู
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เหง้าแก่ทั้งสดและแห้ง - ตำรายาไทยใช้เป็นยาขับลม
ช่วยให้เจริญอาหาร
แก้อาเจียน
แก้ไอ ขับเสมหะและขับเหงื่อ
โดยใช้เหง้าสดขนาดนิ้วหัวแม่มือต้มกับน้ำ
ผงขิงแห้ง - ชงน้ำดื่ม จากการทดลองกับอาสาสมัคร
36 คน พบว่าผงขิง
ป้องกันการเมารถ
เมาเรือ ได้ดีกว่ายาแผนปัจจุบัน
(dimenhydrinate) ในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหย
ประกอบด้วย menthol, borneol, fenchone, 6-shogaol และ 6-gingerol menthol มีฤทธิ์ขับลม borneol, fenchone และ 6-gingerol มีฤทธิ์ขับน้ำดี
ช่วยย่อยไขมัน
นอกจากนี้พบว่า
สารที่มีรสเผ็ด
ได้แก่ 6-shogaol และ 6-gingrol ลดการบีบตัวของลำไส้
จึงช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเกร็ง
|
6. ดีปลี
Long Pepper
Piper
retrofractum Vahl
PIPERACEAE
|
รูปลักษณะ
ไม้เถา
รากฝอยออกบริเวณข้อ
เพื่อใช้ยึดเกาะ
ใบเดี่ยว
รูปไข่แกมขอบขนาน
กว้าง 3-5 ซม. ยาว 7-10 ซม.
สีเขียวเข้มเป็นมัน
ดอกช่อ
ออกที่ซอกใบ
ดอกย่อยอัดกันแน่น
แยกเพศ ผลสด
มีสีเขียว
เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง
รสเผ็ดร้อน
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุกตากแห้ง - ใช้เป็นยาขับลม
บำรุงธาตุ
แก้ท้องเสีย
ขับรกหลังคลอด
โดยใช้ผล 1 กำมือ
(ประมาณ 10-15 ผล) ต้มเอาน้ำดื่ม
นอกจากนี้ใช้เป็นยาแก้ไอ
โดยเอาผลแห้งครึ่งผล
ฝนกับมะนาวแทรกเกลือ
ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อย
ๆ
มีฤทธิ์ขับลมและแก้ไอ
เกิดจากน้ำมันหอมระเหยและแอลคาลอยด์ piperine ควรระวังการใช้ในสตรีมีครรภ์
|
7. กระชาย
Boesenbergia
rotunda (Linn.) Mansf.
ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น กะแอน
ระแอน
ว่านพระอาทิตย์
|
รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก
ไม่มีลำต้นบนดิน
มีเหง้าใต้ดิน
ซึ่งแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมาก
อวบน้ำ ตรงกลางพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้าย
ใบเดี่ยว
เรียงสลับในระนาบเดียวกัน
รูปขอบขนานแกมรูปไข่
กว้าง 4.5-10 ซม. ยาว 15-30 ซม.
ตรงกลางด้านในของก้านใบมีรองลึก
ดอกช่อ
ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น
กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน
ใบประดับรูปใบหอก
สีม่วงแดง
ดอกย่อยบานครั้งละ
1 ดอก
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เหง้า - ใช้แก้โรคในปาก
ขับปัสสาวะ
รักษาโรคบิด
แก้ปวดมวนท้อง
ขับระดูขาว
|
8. ข่า
Alpinia nigra (Gaertn.) B. L. Burtt
ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น ข่าหยวก
ข่าหลวง
|
รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก
สูง 1.5-2 เมตร
เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน
ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน
กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอกช่อ
ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก
กลีบดอกสีขาว
โคนติดกันเป็นหลอดสั้น
ๆ
ปลายแยกเป็น
3 กลีบ
กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง
ใบประดับรูปไข่
ผลแห้ง
แตกได้ รูปกลม
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เหง้าสด ตำผสมกับเหล้าโรง
ใช้ทารักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา
เช่น กลาก
เกลื้อน สารที่ออกฤทธิ์คือน้ำมันหอมระเหย
และ 1'-acetoxychavicol acetate
เหง้าอ่อน - ต้มเอาน้ำดื่ม
บรรเทาอาการท้องอืด
ท้องเฟ้อ
และขับลม ข่าไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์และไม่เป็นพิษ
|
9. กระเพราแดง
Holy Basil
Ocimum
tenuiflorum Linn.
(O. sanctum Linn.)
LAMIACEAE
ชื่ออื่น กอมก้อ
กอมก้อดง
กระเพราขาว กระเพราขน
|
รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก
อายุหลายปี
สูง 0.3-0.9 เมตร
ทุกส่วนมีกลิ่นเฉพาะ
ลำต้นสี่เหลี่ยม
กิ่งอ่อนอาจมีสีม่วงแดงแกมเขียว
ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม
รูปไข่หรือรูปวงรี
กว้าง 2-3 ซม. ยาว 4-6 ซม.
ขอบใบหยักฟันเลื่อยห่าง
ๆ
สีเขียวแกมม่วงแดง
ดอกช่อ
ออกที่ปลายยอด
กลีบเลี้ยงและกลีบดอกต่างแยกเป็น
2 ปาก
กลีบดอกสีชมพูแกมม่วง
ใบประดับสีเขียวแกมม่วง
ผลแห้ง มี 4 ผลย่อย
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบหรือทั้งต้น - เป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง
ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน
โดยใช้ยอดสด
1 กำมือ
ต้มพอเดือด
ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ
พบว่าฤทธิ์ขับลม
เกิดจากน้ำมันหอมระเหย
และสาร eugenol มีฤทธิ์ขับน้ำดี
ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด
|
10. เจตมูลเพลิงแดง
Rose-colored Leadwort
Plumbago
indica Linn.
PLUMBAGINACEAE
ชื่ออื่น ปิดปิวแดง
ไฟใต้ดิน
|
รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม
สูง 0.8-1.5 เมตร
ลำต้นกลมเรียบ
มีสีแดงบริเวณข้อ
ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
รูปไข่แกมวงรี
กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-10 ซม. ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่ง
กลีบเลี้ยงมีต่อม
ซึ่งเมื่อจับจะรู้สึกเหนียว
กลีบดอกสีแดง
ผลแห้ง
แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
รากแห้ง - ใช้ขับประจำเดือน
กระจายลม
บำรุงธาตุ รักษาโรคริดสีดวงทวาร
พบว่ามีสาร plumbagin ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของมดลูกและลำไส้
ช่วยให้มีการหลั่งน้ำย่อยเพิ่มขึ้น
เพิ่มความอยากอาหาร
แต่ควรระวังในการใช้
เนื่องจาก plumbagin ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร
และอาจเป็นพิษได้
|
|
11. ว่านน้ำ
Calamus, Myrtle Grass
Acorus
calamus Linn.
ARACEAE
ชื่ออื่น ผมผา
ส้มชื่น
ฮางคาวน้ำ
ฮางคาวบ้าน ฮางคาวผา
|
รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก
สูงประมาณ 1 เมตร
พบขึ้นในที่มีน้ำท่วมขังหรือริมน้ำ
ลำต้นอยู่ใต้ดิน
เป็นเหง้าเลื้อยในแนวขนานกับพื้น
ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
กว้าง 1-2 ซม. ยาว 80-110 ซม.
ผิวใบเรียบเป็นมัน
ดอกช่อ
แทงออกจากเหง้า
สีเขียวรูปทรงกระบอก
ยาว 3-5 ซม.
ประกอบด้วยดอกย่อยเรียงตัวอัดแน่น
ก้านช่อและใบประดับ
ลักษณะคล้ายใบ
ผลเป็นผลสด
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เหง้า - ใช้แก้ปวดท้อง
ขับลม
ขับเสมหะ ในกรณีผู้ป่วยกินสารพิษ
และต้องการขับสารพิษออกจากทางเดินอาหาร
ให้กินมากกว่าครั้งละ
2 กรัม
จะทำให้อาเจียน
พบว่าน้ำมันหอมระเหยในเหง้า
และราก ซึ่งมีกลิ่นเฉพาะ
และสาร 2-asarone ซึ่งมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต
แต่มีรายงานว่า
เป็นพิษต่อตับและทำให้เกิดมะเร็ง
จึงควรศึกษาความเป็นพิษเพิ่มเติม
|
12. นมสวรรค์
Clerodendrum
paniculatum Linn.
VERBENACEAE
ชื่ออื่น ฉัตรฟ้า
สาวสวรรค์
พวงพีเหลือง
หังลิง พนมสวรรค์
|
รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม
ลำต้นตั้งตรง
สูงได้ถึง 3 เมตร ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม
รูปไข่
กว้าง 7-38 ซม. ยาว 4-40 ซม.
ขอบใบหยักเว้า
ลึก 3-7 แฉก ดอกช่อขนาดใหญ่
ออกที่ปลายกิ่ง
กลีบเลี้ยงรูประฆังสีส้มแดง
กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว
สีส้มแดง ผล
เป็นผลสด
รูปทรงกลม
สีน้ำเงินแกมเขียวหรือดำ
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ดอก
- แก้พิษสัตว์กัดต่อยและพิษที่เกิดจากการติดเชื้อ
แก้ตกเลือด
ราก - ขับลม
แก้วัณโรค
แก้ไข้มาลาเรีย
แก้อาการไข้ที่ถ่ายเหลว
อาเจียนเป็นเลือด
และมีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง
ต้น - แก้อักเสบเนื่องจากตะขาบ
และแมลงป่องต่อย
แก้พิษฝีผักบัว
|
13. คนทา
Harrisonia
perforata (Blanco) Merr.
SIMAROUBACEAE
ชื่ออื่น กะลันทา
สีฟ้น
สีฟันคนตาย
สีฟันคนทา
จี้ จี้หนาม
สีเตาะ หนามจี้
|
รูปลักษณะ
ไม้พุ่มแกมเถา
กิ่งก้านมีหนาม
ยอดอ่อนมีสีแดง
ใบประกอบ
แบบขนนกเรียงสลับ
มีครีบที่ก้านและแกนใบ
ใบย่อยรูปวงรีหรือรูปไข่
กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 2-2.5 ซม.
ขอบใบหยัก ดอกช่อ
ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง
กลีบดอกด้านนอกสีแดงแกมม่วง
ด้านในสีนวล
ผล เป็นผลสด
ค่อนข้างกลม
ใบ ผล และราก
มีรสขม
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ราก - ใช้เป็นยาแก้ไข้ทุกชนิด
|
14. ชิงชี่
Capparis
micracantha DC.
CAPPARACEAE
ชื่ออื่น กระดาดขาว
กระโรกใหญ่
จิงโจ
พญาจอม ปลวก
แสมซอ
กระดาดป่า
ค้อนฆ้อง
ชายชู้
หมากมก ซิซอ
พวงมาระดอ
เม็งซอ ราม
แส้ม้าทลาย
หนวดแมวแดง
|
รูปลักษณะ
ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก
สูง 1-6 เมตร
มีหนามที่กิ่งก้าน
ใบเดี่ยว
รูปขอบขนาน
รูปวงรีหรือรูปไข่
กว้าง 4-10 ซม. ยาว 8-24 ซม. ดอกช่อ
ออกที่ซอกใบหรือกิ่งก้านใกล้ซอกใบ
กลีบดอกสีขาว
มีแต้มสีเหลือง
เมื่อแรกบาน
และเปลี่ยนเป็นแต้มม่วงแกมน้ำตาล
ผลเป็นผลสด
รูปกระสวย กลมหรือทรงกระบอก
เมื่อสุกสีแดง
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ราก - ใช้เป็นยาขับลม
รักษามะเร็ง
(แผลเรื้อรัง
เน่า ลุกลาม
รักษายาก)
ต้น - ตำพอก
แก้ฟกบวม
ใบ - เข้ายาอาบและกิน
รักษาโรคผิวหนัง
ผื่นคัน เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด
มักมีไข้ร่วมด้วย
|
15. เท้ายายม่อม
Clerodendrum
petasites S. Moore
VERBENACEAE
ชื่ออื่น กาซะลอง
จรดพระธรณี
ดอกคาน
ปิ้งขม
ปิ้งหลวง
พญารากเดียว
พญาเล็งจ้อน
เล็งจ้อนใต้
พมพี พินพี่
ไม้เท้าฤาษี
หญ้าลิ้นจ้อน
|
รูปลักษณะ
ไม้พุ่มขนาดเล็ก
สูง 1-2.5 เมตร
ลำต้นตรง
บริเวณปลายกิ่งเป็นสันสี่เหลี่ยม
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือรอบข้อ
ๆ ละ 3-5 ใบ
รูปวงรีแกมขอบขนาน
หรือรูปขอบขนานแกมใบหอกกลับ
กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 12-18 ซม. ดอกช่อ
แยกแขนง
ออกที่ปลายกิ่ง
กลีบดอกสีขาว
เชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว
ผล เป็นผลสด
รูปทรงกลม
เมื่อสุกสีดำ
มีกลีบเลี้ยงสีแดงติดอยู่
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ราก - ใช้เป็นยาขับเสมหะลงเบื้องต่ำ
ขับพิษไข้ แก้ร้อนใน
กระหายน้ำ
แก้อาเจียน
หืดไอ และตำพอกแก้พิษฝี
|
16. มะเดื่ออุทุมพร
Ficus
racemosa Linn.
MORACEAE
ชื่ออื่น เดื่อเกลี้ยง
เดื่อน้ำ
มะเดื่อ
มะเดื่อชุมพร
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่
สูงได้ถึง 30 เมตร
มีน้ำยางขาว
กิ่งอ่อนและผล
มีขนละเอียดสีขาว
ใบเดี่ยว เรียงสลับ
รูปวงรี
รูปไข่
รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก
กว้าง 3.5-8.5 ซม. ยาว 6-19 ซม. ดอกช่อ
เกิดภายในฐานรองดอก
ที่มีรูปร่างคล้ายผล
ออกที่ลำต้นและกิ่ง
แยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน
ผล เป็นผลสด
รูปไข่แกมสามเหลี่ยม
เมื่อสุกสีแดงแกมชมพู
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ราก - ใช้แก้ไข้พิษ
แก้ร้อนใน
เปลือกต้น - มีรสฝาด
แก้อาการท้องเสียที่ไม่ใช่บิด
หรืออหิวาตกโรค
แก้อาเจียน
ห้ามเลือด ชำระแผล
|
17. ย่านาง
Tiliacora
triandaDiels.
MENISPERMACEAE
|
รูปลักษณะ
ไม้เถา
ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
รูปไข่แกมใบหอก
กว้าง 2-4 ซม. ยาว 5-12 ซม. ดอกช่อ
ออกตามเถาและที่ซอกใบ
แยกเพศ
อยู่คนละต้น
ไม่มีกลีบดอก
ผลเป็นผลกลุ่ม
ผลย่อย
รูปวงรี
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ราก - ต้มกับน้ำดื่ม
แก้ไข้ทุกชนิด
|
|