1. กระทงลาย
Celastrus paniculatus Willd.
CELASTRACEAE
ชื่ออื่น กระทุงลาย โชด นางแตก มะแตก มะแตกเครือ มักแตก

รูปลักษณะ
ไม้เถารอเลื้อย เนื้อแข็ง
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 2.5-4 ซม. ยาว 6-8 ซม.
ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีเขียว
ผลแห้ง แตกได้ รูปทรงกลม หรือรูปไข่ เมล็ดมีเยื่อสีน้ำตาลแดง
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ราก - ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้มาลาเรีย
ใบ - รักษาโรคบิด
แก่น - รักษาวัณโรค
ผล - แก้ลมจุกเสียด บำรุงโลหิต
เมล็ด - พอก หรือรับประทานรักษาโรคปวดตามข้อ กล้ามเนื้อและอัมพาต
น้ำมันในเมล็ด - รักษาโรคเหน็บชา และเป็นยาขับเหงื่อ


 

2. กระชาย
Boesenbergia rotunda (Linn.) Mansf.
ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น กะแอน ระแอน ว่านพระอาทิตย์

รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก ไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดิน ซึ่งแตกรากออกไป เป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลางพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้าย
ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 4.5-10 ซม. ยาว 15-30 ซม. ตรงกลางด้านในของก้านใบมีรองลึก
ดอกช่อ ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับรูปใบหอก สีม่วงแดง ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เหง้า - ใช้แก้โรคในปาก ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง ขับระดูขาว


 

3. กระท้อน
Sandoricum koetjape (Burm. f.) Merr.
MELIACEAE
ชื่ออื่น เตียน เลื่ยน สะท้อน มะต้อง มะตึ๋น

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น มียางขาว สูง 15 - 30 เมตร
ใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่แกมวงรี แกมขอบขนาน กว้าง 6 - 15 ซม. ยาว 8 - 20 ซม. เมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง
ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลืองหม่น
ผลเป็นผลสด รูปกลมแป้น สีเหลือง ผิวมีขนแบบกำมะหยี่
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เปลือก - ใช้เปลือกต้นต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย


 

4. โกฏจุฬาลำพา
Artemisia vulgaris Linn.
ASTERACEAE

รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1.5 เมตร รากมีกลิ่นหอม
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปใบหอก ขอบหยักเว้า ลึกเป็นพู
ดอกช่อ แยกแขนง ประกอบด้วยช่อย่อยเป็นกระจุกกลม ขนาดเล็กออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง มีชั้นใบประดับ กลีบดอกสีเหลืองอ่อน
ผลแห้ง ไม่แตกเมล็ด รูปขอบขนานหรือรูปไข่ ผิวเกลี้ยง
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบและช่อดอกแห้ง - ใช้แก้ไข้ที่มีผื่น เช่น หัด สุกใส แก้ไอ


 

5. เข็มแดง
Ixora macrothyrsa Teijsm. et Binn.
RUBIACEAE
ชื่ออื่น เข็มเศรษฐี

รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม สูง 2 - 4 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 6 - 9 ซม. ยาว 15 - 20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ
ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีแดงเข้ม เชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว
ผลสด เมื่อสุกสีม่วงแดง
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ราก, ดอก - แก้บิด


 

6. ไข่เน่า
Vitex glabrata R. Br.
VERBENACEAE
ชื่ออื่น ขี้เห็น คมขวาน ฝรั่ง

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 10 - 25 เมตร
ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงตรงข้าม ใบย่อย 3 - 5 ใบ รูปไข่กลับแกมวงรี หรือรูปใบหอกกลับ กว้าง 4 - 6 ซม. ยาว 10 - 13 ซม.
ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีม่วงอ่อน เชื่อมติดกันเป็นหลอดกว้าง มีขนละเอียด
ผลเป็นผลสด รูปไข่หรือรูปไข่กลับ เมื่อสุกสีม่วงดำ
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เปลือกต้น, ราก เป็นยาเจริญอาหาร แก้เด็กถ่ายเป็นฟอง แก้บิด แก้ไข้ แก้ตานขโมย แก้ท้องเสีย


 

7. ฆ้องสามย่าน
Kalanchoe laciniata (Linn.) DC.
CRASSULACEAE
ชื่ออื่น เถาไฟ ฮอมแฮม

รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 1 เมตร ลำต้นและใบฉ่ำน้ำ
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม มีหลายรูปร่าง ใบบริเวณกลางลำต้นเว้าเป็นแฉกลึก ดูกล้ายเป็นใบประกอบ ใบบริเวณโคนต้นไม่เว้า หรือเว้าเป็นแฉกตื้นๆ ใบทั้งสองแบบสีเขียวอ่อน อาจมีสีม่วงแซม
ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลืองเชื่อมติดกันเป็นหลอด
ผลแห้ง แตกตะเข็บเดียว รูปไข่แกมขอบขนาน
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ - น้ำคั้นจากใบใช้กินแก้ท้องร่วง ใช้ใบเป็นยาเย็น ดับพิษร้อนภายใน ตำพอกแก้พิษอักเสบ ปวด บวม รักษาแผล ฝีห้ามเลือด พิษตะขาบ แมงป่อง ตากแดดให้แห้ง บดเป็นผงทาลิ้นเด็กอ่อนแก้ละอองทราง


 

8. ช้าพลู
Piper sarmentosum Roxb. ex Hunter
PIPERACEAE
ชื่ออื่น นมวา ผักปูนา ผักพลูนก พลูลิง

รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก สูง 30 - 80 ซม. มีไหลงอกเป็นต้นใหม่
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 5 - 10 ซม. ยาว 7 - 15 ซม.
ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ รูปทรงกระบอก ดอกย่อยแยกเพศ
ผลเป็นผลสด
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ต้น - ใช้ทั้งต้นขับเสมหะ ใบเป็นยาขับลม การทดลองในสัตว์พบว่าสารสกัด ทั้งต้นมีฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ และคลายกล้ามเนื้อ


 

9. ทับทิม
Pomegranate

Punica granatum Linn.
PUNICACEAE
ชื่ออื่น พิลา พิลาขาว มะก่องแก้ว มะเก๊าะ

รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม สูง 2 - 5 เมตร กิ่งเล็กๆ มักเปลี่ยนเป็นหนามแหลม
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 1 - 2 ซม. ยาว 4 - 6 ซม. ใบอ่อนมีสีแดง
ดอกเดี่ยว หรือช่อ 2 - 5 ดอก ออกที่ซอกใบและปลายยอด กลีบดอกสีส้มแดง ร่วงง่าย กลีบเลี้ยงหนาแข็ง สีส้ม แกมเหลือง
ผลเป็นผลสด รูปกลม
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เปลือกผล - ใช้เปลือกผลแก่ตากแห้ง รักษาอาการท้องร่วง ขนาดที่ใช้คือ เปลือกผลแห้ง ประมาณ 1 ใน 4 ผล ฝนหับน้ำให้ข้นๆ กินวันละ 1 - 2 ครั้ง การกินขนาดสูงอาจเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ ใช้ฝนกับน้ำทาแก้น้ำกัดเท้า พบว่ามีสารแทนนิน และกรดแทนนิกซึ่งช่วยฝาดสมาน
เปลือกราก, เปลือกต้น - มีสาร pelletierine และ isopelletierine ซึ่งเป็นพิษจึงไม่ควรใช้


 

10. เปล้าน้อย
Croton sublyratus Kurz
EUPHORBIACEAE

รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม หรือไม้ยืนต้น สูง 1 - 4 เมตร ผลัดใบ
ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปใบหอกกลับ กว้าง 4 - 6 ซม. ยาว 10 - 15 ซม.
ดอกช่อ ออกที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง และที่ปลายกิ่ง ดอกช่อย่อยขนาดเล็ก แยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน กลีบดอกสีนวล
ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เปลือก, ใบ - รักษาโรคท้องเสีย บำรุงโลหิตประจำเดือน ใบเปล้าน้อยที่ปลูกในประเทศไทย มีสาร plaunotol ซึ่งมีฤทธิ์ สมานแผลในกระเพาะอาหารดีมาก แต่ต้องสกัด และทำเป็นยาเม็ด ปัจจุบัน บริษัทยาจากประเทศญี่ปุ่นจดสิทธิบัตร การผลิตจำหน่ายทั่วโลก นับมูลค่าหลายพันล้านบาทต่อปี นับเป็นกรณีตัวอย่าง การสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของคนไทย


 

11. ฝรั่ง
Guava

Psidium guajava Linn.
MYRTACEAE
ชื่ออื่น จุ่มโป ชมพู มะก้วย มะด้วยกา มะมั่น มะกา มะจีน ย่าหมู สีดา

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 3 - 10 เมตร เปลือกต้นเรียบ
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3 - 8 ซม. ยาว 6 - 14 ซม.
ดอกเดี่ยวหรือช่อ 2 - 3 ดอก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย เกสรตัวผู้จำนวนมาก
ผลเป็นผลสด
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ - แก้ท้องร่วง บิดมูกเลือด ระงับกลิ่นปาก รากขับปัสสาวะ การทดลองกับผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง โดยให้กินผงใบแห้ง 500 มก. ทุก 3 ชม. เป็นเวลา 3 วัน พบว่าได้ผลดีกว่า ยาปฏิชีวนะเตตราซัยคลิน


 

12. ฝิ่นต้น
Jatropha multifida Linn.
EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น มะละกอฝรั่ง มะหุ่งแดง

รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม ลำต้นตั้ง สูง 2 - 4 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่กว้างแกมรูปโล่ กว้าง 15 - 20 ซม. ยาว 18 - 25 ซม. แยกเป็นแฉกๆ คล้ายใบมะละกอ
ดอกช่อแยกแขนง แบบเชิงหลั่น ออกที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยแยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน กลีบดอกสีแดง
ผลแห้ง รูปไข่กลับกว้าง มี 3 พู แตกได้เมื่อสุกสีเหลือง
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เปลือก - ใช้เปลือกที่มีรสฝาด ปรุงกินเป็นยาคุมธาติ แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน


 

13. ไพล
Zingiber purpureum Rosc.
ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น ปูลอย ปูเลย ว่านไฟ

รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก สูง 0.7 - 1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองแกมเขียว มีกลิ่นเฉพาะ แทงหน่อ หรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ประกอบด้วยกาบ หรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3.5 - 5.5 ซม. ยาว 18 - 35 ซม.
ดอกช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง
ผลแห้ง รูปกลม
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เหง้า - ใช้เหง้าสดเป็นยาภายนอก โดยฝนทาแก้เคล็ดยอก ฟกบวม เส้นตึง เมื่อยขบ เหน็บชา สมานแผล จากการวิจัยพบว่า ในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีคุณสมบัติลดอาการอักเสบ และบวม จึงมีการผลิตยาขึ้ผึ้งผสมน้ำมันไพล เพื่อใช้เป็นยาทาแก้อาการเคล็ดขัดยอก น้ำมันไพลผสมแอลกอฮอล์ สามารถทากันยุงได้ ใช้เหง้ากินเป็นยาขับลม ขับประจำเดือน มีฤทธิ์ระบายอ่อนๆ แก้บิด สมานลำไส้ นอกจากนี้พบว่าในเหง้ามีสาร 4-(4-hydroxy-1-butenyl)veratrole ซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดลม ได้ทดลองใข้ผงไพลกับผู้ป่วยเด็กที่เป็นหิด สรุปว่าให้ผลดี ทั้งในรายที่มีอาการหอบหืดแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง


 

14. ฟ้าทะลาย
Andrographis paniculata (Burm. f.) Nees.
ACANTHACEAE
ชื่ออื่น ฟ้าทะลายโจร หญ้ากับงู น้ำลายพังพอน

รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก สูง 30-60 ซม. ทั้งต้นมีรสขม ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งออกเป็นพุ่มเล็ก
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปใบหอก กว้าง 2-3 ซม. ยาว 4-8 ซม. สีเขียวเข้ม เป็นมัน
ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง และซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนกลีบดอกติดกัน ปลายแยกออกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ มีเส้นสีแดงเข้มพาดตามยาว ปากล่างมี 2 กลีบ
ผลเป็นฝัก สีเขียวอมน้ำตาล ปลายแหลม เมื่อผลแก่จะแตกเป็นสองซีก ดีดเมล็ดออกมา
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ, ทั้งต้น - ใช้เฉพาะส่วนที่อยู่บนดิน ซึ่งเก็บก่อนที่ดอกจะบาน เป็นยาแก้ไข้ แก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย เป็นยาขมเจริญอาหาร ขนาดที่ใช้คือ พืชสด 1-3 กำมือ ต้มน้ำดื่มก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง หรือใช้พืชแห้งบดเป็นผงละเอียด ปั้นเป็นยาลูกกลอน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 ซม. กินครั้งละ 3-6 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร และก่อนนอน สำหรับผงฟ้าทะลายที่บรรจุแคปซูล ๆ ละ 500 มิลลิกรัม ให้กินครั้งละ 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น อาการข้างเคียงที่อาจพบคือ คลื่นไส้


 

15. มังคุด
Mangosteen

Garcinia mangostana Linn.
CLUSIACEAE

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 10 - 12 เมตร ทุกส่วนมียางสีเหลือง
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 6 - 11 ซม. ยาว 15 - 25 ซม. เนื้อใบหนา และค่อนข้างเหนียว คล้ายหนัง หลังใบสีเขียวเข้ม เป็นมัน ท้องใบสีอ่อน
ดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง สมบูรณ์เพศ หรือแยกเพศ กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกสีแดง ฉ่ำน้ำ
ผลเป็นผลสด ค่อนข้างกลม
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เปลือกผล - ใช้เปลือกผลแห้ง ซึ่งมีสารแทนนิน เป็นยาฝาดสมาน แก้โรคท้องร่วง ท้องเสียเรื้อรัง และโรคเกี่ยวกับลำไส้


 

16. โมกหลวง
Kurchi

Holarrhena pubescens (Buch.-Ham.) Wall. ex G. Don (H. antidysenterica wall.)
APOCYNACEAE
ชื่ออื่น พุด พุทธรักษา มุกมันน้อย มูกมันหลวง มุกหลวง โมกเขา โมกทุ่ง โมกใหญ่ ยางพุด

รูปลักษณะ
ไม้ยืนตน สูง 8 - 15 เมตร ทุกส่วนมียางขาว
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปไข่ หรือรูปวงรี กว้าง 5 - 12 ซม. ยาว 10 - 20 ซม. ผิวใบสีเขียวแกมเหลือง ท้องใบมีขนนุ่ม
ดอกช่อ ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว บริเวณกลางดอกสีเหลือง
ผลเป็นฝักคู่
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เปลือก - ใช้เปลือกแก้บิด เจริญอาหาร พบว่ามีแอลคาลอยค์ conessine ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อบิด และเคยใช้เป็นยารักษาโรคบิด อยู่ระยะหนึ่ง ปัจจุบันมีการใช้น้อย เนื่องจากพบฤทธิ์ข้างเคียง ต่อระบบประสาท


 

17. สมอพิเภก
Beleric Myrobalan

Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb.
COMBRETACEAE
ชื่ออื่น ลัน สมอแหน แหน แหนขาว แหนต้น

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 25-50 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับแกมวงรี กว้าง 5-10 ซม. ยาว 10-20 ซม.
ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ และดอกตัวผู้อยู่บนต้นเดียวกัน กลีบสีเหลือง
ผลเป็นผลสด ค่อนข้างกลม มีสัน 5 สัน
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ผลดิบ - ใช้เป็นยาระบาย ขับเสมหะ
ผลดิบ - มีฤทธิ์ฝาดสมาน แก้ท้องเสีย


 

18. สายน้ำผึ้ง
Japanese Honey-suckle

Lonicera japonica Thunb.
CAPRIFOLIACEAE

รูปลักษณะ
ไม้เถาเลื้อยพัน
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปใบหอก กว้าง 1.5 - 3 ซม. ยาว 3 - 6 ซม.
ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอก สีครีมแล้ว เปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม
ผลเป็นผลสด รูปกลม เมื่อสุกมีสีดำ
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ต้น - ใช้ทั้งต้นแก้บิด ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด ลำไส้อักเสบ โรคกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะรักษาฝี แผลเปื่อย มีการทดลองกับผู้ป่วย พบว่ามีฤทธิ์แก้ท้องเสีย


 

19. สีเสียดเหนือ
Catechu Tree, Cutch Tree

Acacia catechu (Linn. f.) Willd.
FABACEAE
ชื่ออื่น สีเสียด สีเสียดแก่น สีเสียดเหลือง

รูปลักษณะ
ไม้ยีนต้น สูง 10 - 15 เมตร กิ่งมีหนามเป็นคู่
ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาว 9 - 17 ซม. ใบย่อยจำนวนมาก รูปขอบขนาน ขนาดเล็ก
ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ รูปทรงกระบอกตรง กลีบดอกสีนวล
ผลเป็นฝัก แบนยาว สีน้ำตาล
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
แก่น - มีฤทธิ์ฝาดสมาน เนื่องจากมีสารแทนนิน ใช้กินแก้ท้องร่วง ใช้ภายนอกรักษาบาดแผล และโรคผิวหนัง ถ้าสับแก่นให้เป็นชิ้นเล็ก ต้มเคี่ยวไฟอ่อนๆ กับน้ำ กรอง เคี่ยวต่อ จะได้ยางสีน้ำตาลดำ มีลักษณะเหนียวปั้นเป็นก้อน ทิ้งไว้จนแห้งแข็ง เรียกกันว่าสีเสียดลาว มีรสฝาดมาก ใช้ปรุงยา หรือใช้ย้อมผ้า และฟอกหนังสัตว์


 

20. หูกวาง
Indian Almond

Terminalia catappa Linn.
COMBRETAEAE

รูปลักษณะ
ไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูง 10 - 35 เมตร เปลือกเรียบ เรือนยอดแผ่กว้าง ในแนวราบ
ใบเดี่ยว รูปไข่กลับ และออกแน่นที่ปลายกิ่ง เนื้อใบหนา
ดอกช่อออกตามง่ามใบ ดอกเล็ก สีขาว
ผลสีแดงเหลือง หรือเขียว รูปรีค่อนข้างแบน ทางด้านข้างยาว 3 - 7 ซม. มักขึ้นตามชายฝั่งทะเล
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เปลือก - ใช้เปลือกต้น ซึ่งมีรสฝาด เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเสีย บิด ผลเป็นยาถ่าย ใบขับเหงื่อ น้ำมันที่บีบได้จากเมล็ดใช้รักษา โรคเรื้อน