1. กรรณิการ์
Night Jasmine
Nyctanthes arbor-tristis Linn.
VERBENACEAE
ชื่ออื่น
กณิการ์
กรณิการ์
|
รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม
สูง 2 - 5 เมตร
ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม
รูปไข่
หรือรูปใบหอก
กว้าง 2.5 - 5 ซม. ยาว 5 - 10 ซม.
ค่อนข้างหยาบสาก
ดอกช่อ
ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบและปลายกิ่ง
กลีบดอกสีขาว
โคนกลีบดอกเป็นหลอดสีส้มแดง
ผลแห้ง
แตกได้ แบน
รูปไข่กลับ
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ - ใช้ใบเป็นยาขมเจริญอาหาร
บำรุงน้ำดี
ต้น - แก้ปวดศีรษะ
ดอก - แก้ไข้และลมวิงเวียน
ราก - บำรุงธาตุ
บำรุงกำลัง
แก้ท้องผูก
โคนกลีบ - ใช้โคนกลีบส่วนหลอดสีส้มแดงโขลกหยาบๆ
เติมน้ำคั้น
ส่วนน้ำกรองจะได้น้ำสีเหลืองใส
ใช้เป็นสีผสมอาหาร
และย้อมผ้า
เติมน้ำมะนาว
หรือสารส้มลงไปเล็กน้อยขณะย้อมผ้า
จะทำให้สีคงทน
|
2. ขิง
Ginger
Zingiber officinale Rosc.
ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น ขิงแกลง
ขิงแดง ขิงเผือก
|
รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก
สูง 0.3-1 เมตร
มีเหง้าใต้ดิน
เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง
เนื้อในสีนวลมีกลิ่นเฉพาะ
แทงหน่อ หรือลำต้นเทียมขึ้นมาจากดิน
ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
รูปขอบขนาน
แกมใบหอก กว้าง
1.5-2
ซม. ยาว 15-20 ซม.
ดอกช่อ
แทงออกจากเหง้า
กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว
ใบประดับสีเขียวอ่อน
ผลแห้ง
มี 3 พู
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เหง้าแก่ทั้งสดและแห้ง - ตำรายาไทยใช้เป็นยาขับลม
ช่วยให้เจริญอาหาร
แก้อาเจียน
แก้ไอ
ขับเสมหะและขับเหงื่อ
โดยใช้เหง้าสดขนาดนิ้วหัวแม่มือต้มกับน้ำ
ผงขิงแห้ง - ชงน้ำดื่ม จากการทดลองกับอาสาสมัคร
36 คน
พบว่าผงขิง
ป้องกันการเมารถ
เมาเรือ ได้ดีกว่ายาแผนปัจจุบัน
(dimenhydrinate) ในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหย
ประกอบด้วย menthol, borneol, fenchone, 6-shogaol และ 6-gingerol menthol มีฤทธิ์ขับลม borneol, fenchone และ 6-gingerol มีฤทธิ์ขับน้ำดี
ช่วยย่อยไขมัน
นอกจากนี้พบว่า
สารที่มีรสเผ็ด
ได้แก่ 6-shogaol และ 6-gingrol ลดการบีบตัวของลำไส้
จึงช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเกร็ง
|
3. ไข่เน่า
Vitex glabrata R. Br.
VERBENACEAE
ชื่ออื่น
ขี้เห็น
คมขวาน ฝรั่ง
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
สูง 10 - 25 เมตร
ใบประกอบแบบนิ้วมือ
เรียงตรงข้าม
ใบย่อย 3 - 5 ใบ รูปไข่กลับแกมวงรี
หรือรูปใบหอกกลับ
กว้าง 4 - 6 ซม. ยาว 10 - 13 ซม.
ดอกช่อ
ออกที่ซอกใบ
กลีบดอกสีม่วงอ่อน
เชื่อมติดกันเป็นหลอดกว้าง
มีขนละเอียด
ผลเป็นผลสด
รูปไข่หรือรูปไข่กลับ
เมื่อสุกสีม่วงดำ
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เปลือกต้น, ราก เป็นยาเจริญอาหาร
แก้เด็กถ่ายเป็นฟอง
แก้บิด
แก้ไข้ แก้ตานขโมย
แก้ท้องเสีย
|
4. เจตมูลเพลิงแดง
Rose-colored Leadwort
Plumbago indica Linn.
PLUMBAGINACEAE
ชื่ออื่น ปิดปิวแดง
ไฟใต้ดิน
|
รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม
สูง 0.8-1.5 เมตร
ลำต้นกลมเรียบ
มีสีแดงบริเวณข้อ
ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
รูปไข่แกมวงรี
กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-10 ซม.
ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่ง
กลีบเลี้ยงมีต่อม
ซึ่งเมื่อจับจะรู้สึกเหนียว
กลีบดอกสีแดง
ผลแห้ง
แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
รากแห้ง - ใช้ขับประจำเดือน
กระจายลม
บำรุงธาตุ รักษาโรคริดสีดวงทวาร
พบว่ามีสาร plumbagin ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัว
ของมดลูก และลำไส้
ช่วยให้มีการหลั่งน้ำย่อยเพิ่มขึ้น
เพิ่มความอยากอาหาร
แต่ควรระวังในการใช้
เนื่องจาก plumbagin ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร
และอาจเป็นพิษได้
|
5. ตะไคร้
Lemon Grass
Cymbopogon citratus (DC.) Stapf
POACEAE
ชื่ออื่น
จะไคร ไคร
|
รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก
อายุหลายปี
สูง 0.75 - 1.2 เมตร
แตกเป็นกอ
เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ
ข้อและปล้องสั้นมาก
กาบใบสีขาวนวล
หรือขาวปนม่วง
ยาวและหนาหุ้มข้อ
และปล้องไว้แน่น
ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
กว้าง 1 - 2 ซม. ยาว 70 - 100 ซม.
แผ่นใบและขอบใบสากและคม
ออกดอกยาก
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
โคนกาบใบ, ลำต้น - ทั้งสดและแห้ง
มีน้ำมันหอมระเหยช่วยให้เจริญอาหาร
ใช้เป็นยาขับลม
แก้ท้องอืดท้องเฟ้อแน่นจุกเสียด
ใช้ลำต้นแก่สดประมาณ
1 กำมือ (40-60 กรัม)
ทุบพอแหลก
ต้มน้ำพอเดือดหรือชงน้ำ
ดื่มวันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร
นอกจากนี้ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการขัดเบา
หรือปัสสาวะไม่คล่อง
โดยผู้ป่วยต้องไม่มีอาการบวมที่แขนและขา
พบว่าน้ำมันตะไคร้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา
และแบคทีเรีย
|
6. โมกมัน
Wrightia tomentosa Roem. et Schult.
APOCYNACEAE
ชื่ออื่น
มักมัน
มูกน้อย
มูกมัน โมกน้อย
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น
สูง 10 - 12 เมตร
มียางขาว
ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม
รูปวงรี
หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน
กว้าง 3 - 6 ซม. ยาว 7 - 12 ซม.
ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่ง
กลีบดอก สีขาวแกมชมพู
ผลเป็นฝักคู่ติดกัน
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เปลือก - ใช้เปลือกเป็นยาบำรุงธาติ
เจริญอาหาร
แก่น - แก้ดีพิการ
ขับเลือด
ยางจากต้น - ใช้แก้บิดมูกเลือด
|
7. ส้มป่อย
Acacia concinna (Willd.) DC.
FABACEAE
ชื่ออื่น
ส้มขอน
|
รูปลักษณะ
ไม้พุ่มรอเลื้อยมีหนามตามลำต้น
กิ่ง ก้านและใบ
ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น
เรียงสลับ
ยาว 7 - 20 ซม. ใบย่อยรูปขอบขนาน
ขนาดเล็ก
ดอกช่อ
ออกที่ซอกใบ
เป็นช่อกลม
กลีบดอกเป็นหลอด
สีนวล
ผลเป็นฝัก
สีน้ำตาลดำ
ผิวย่นขรุขระ
ขอบมักเป็นคลื่น
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ฝัก - มีสารออกฤทธิ์กลุ่มซาโปนินสูงถึง
20.8% ได้แก่ acacinins A, B, C, D และ E ซึ่งถ้าตีกับน้ำ
จะเกิดฟองที่คงทนมาก
ใช้สระผมแก้รังแค
ต้มน้ำอาบหลังคลอด
หรือชุบสำลีปิดแผลโรคผิวหนัง
ฝักกินเป็นยาขับเสมหะ
แก้น้ำลายเหนียว
|
8. สะเดาบ้าน
Neem Tree
Azadirachta indica A.Juss. var. siamensis Valeton
MELIACEAE
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น
สูง 4-10 เมตร
ทุกส่วนมีรสขม
ยอดอ่อนที่แตกใหม่
มีสีน้ำตาลแดง
เปลือกต้นสีเทาแตกเป็นร่อง
ใบประกอบแบบขนนก
เรียงสลับ
ใบย่อยรูปใบหอก
กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-8 ซม.
ขอบใบหยักฟันเลื่อย
ฐานใบไม่เท่ากัน
ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่ง
ขณะกำลังแตกใบ่ออน
กลีบดอกสีขาว
ผล เป็นผลสด
รูปรี มี 1 เมล็ด
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ก้านใบและราก - ใช้เป็นยาแก้ไข้ทุกชนิด
เปลือกต้น - แก้ท้องเสีย
เมล็ดและใบ - มีสาร azadirachtin ซึ่งใช้เป็นยาฆ่าแมลงศัตรูพืช
โดยใช้สะเดาบ้าน
ใบตะไคร้หอมและเหง้าข่าแก่
ชนิดละ 2 กก.
บดละเอียด
หมักค้างคืนกับน้ำ
1 ปีบ
ฉีดพ่นในอัตราส่วนน้ำยา
300-500 ซีซี
ต่อน้ำ 1 ปีบ
|
9. แสลงใจ
Nux-vomica Tree, Snake Wood
Strychnos nux-vomica Linn.
STRYCHNACEAE
ชื่ออื่น
กระจี้
กะกลิ้ง
ตูมกาแดง
แสลงทม
แสลงเบื่อ
แสลงเบือ
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น
สูงประมาณ 30 เมตร
ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม
รูปไข่แกมขอบขนาน
กว้าง 5 - 8 ซม. ยาว 7 - 12 ซม.
ดอกช่อ
ออกที่ซอกใบ
กลีบดอกสีเขียวอ่อน
ผลเป็นผลสด
รูปกลม
เมล็ดกลมแบนคล้ายกระดุม
สีเขียวแกมเทา
มีขนสีน้ำตาลอ่อนนุ่มปกคลุม
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เมล็ด - เมล็ดแก่แห้ง
เรียกว่า
โกฐกะกลิ้ง ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร
บำรุงหัวใจ
ขับน้ำย่อย
พบว่ามีแอลคาลอยด์
strychnine และ brucine ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง
มีความเป็นพิษสูง
หากได้รับเกินขนาดจะเป็นอันตราย
อาการพิษคือ
กล้ามเนื้อกระตุกและชัก
อาจถึงตาย ปัจจุบันไม่ค่อยใช้เป็นยา
และกำหนดขนาดไว้ให้กินได้
ไม่เกินครั้งละ
60 มก. แต่ใช้เป็นยาเบื่อหนูและสุนัข
|
10. หอมแดง
Eleutherine americana
Merr.
IRIDACEAE
ชื่ออื่น ว่านไก่แดง
ว่านเข้า
ว่านหมาก ว่านเพลาะ
ว่านหอมแดง
|
รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี
มีหัวใต้ดินคล้ายหัวหอม
รูปรียาว
ใบเกร็ดที่หุ้มหัวใต้ดิน
สีม่วงแแดง
ใบเดี่ยว
ออกเป็นกระจุก
3-4 ใบ รูปดาบ
กว้าง 2-4 ซม. ยาว 20-40 ซม. เส้นใบขนาน
จีบตามยาวคล้ายพัด
ดอกช่อ
แทงจากลำต้นใต้ดิน
กลีบดอกสีขาว
ผลแห้ง
แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
หัวใต้ดินสด - ใช้ผสมรวมกับเหง้าเปราะหอม
ตำหยาบ ๆ ห่อผ้าสุมหัวเด็ก
แก้หวัดคัดจมูก
และกินเป็นยาขับลม
|