1. กระแจะ
Naringi
crenulata (Roxb.) Nicolson
(Hesperethusa
crenulata (Roxb.) Roem.)
RUTACEAE
ชื่ออื่น
ขะแจะ
ตุมตัง
พญายา
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก
สูง 3-8 เมตร
กิ่งก้านมีหนาม
ใบประกอบแบบขนนก
เรียงสลับ
ใบย่อย 4-13 ใบ
รูปวงรีแกมไข่สลับ
กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 2-7 ซม.
ก้านใบแผ่เป็นปีก
ดอกช่อ
ออกที่ซอกใบ
กลีบดอกสีขาว
ผล
เป็นผลสด
รูปทรงกลม
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
แก่น - ใช้เป็นยาดับพิษร้อน
ดองเหล้ากินแก้กษัย (การป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ
ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม
ซูบผอม
โลหิตจาง)
ลำต้น - ใช้ต้มน้ำดื่ม
ครั้งละครึ่งแก้ว
วันละ 3 ครั้ง
เช้า-กลางวัน-เย็น
แก้อาการโรคผิวหนังมีผื่นคัน
เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด
คันมาก
มักมีไข้ร่วมด้วย
แก้ปวดตามข้อ
ปวดเมื่อย
เส้นตึง
แก้ร้อนใน
เปลือกต้น - แก้ไข้
บำรุงจิตใจให้ชุ่มชื่นแจ่มใส
|
2. ชองระอา
Barleriaiupulina Lindl.
ACANTHACEAE
ชื่ออื่น เสลดพังพอน
เสลดพังพอนตัวผู้
|
รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม
สูงประมาณ 1 เมตร
มีหนามแหลมยาวข้อละ
2 คู่
กิ่งก้านสีน้ำตาลแดง
ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม
รูปใบหอกยาวหรือ
รูปขอบขนาน
กว้าง 1.8-2.5 ซม. ยาว 6-12 ซม.
ผิวใบเรียบมัน
สีเขียวเข้ม
เส้นกลางใบสีแดง
ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่ง
ยาวประมาณ 8 ซม.
ใบประดับค่อนข้างกลม
สีน้ำตาลแดงขนาดใหญ่
กลีบดอกสีเหลืองส้ม
โคนเชื่อมติดเป็นหลอด
ปลายแยกเป็น
2 ปาก
ปากบนมีกลีบขนาดใหญ่
4 กลีบ
กลีบล่างเล็กกว่า
มี 1 กลีบ ผล
เป็นฝัก
รูปไข่
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ - ใช้ตำละเอียดผสมเหล้า
พอกหรือทา
ถอนพิษอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อยและเริม
ราก - ใช้ฝนกับเหล้าทาถอนพิษตะขาบ
|
3. นมสวรรค์
Clerodendrum
paniculatum Linn.
VERBENACEAE
ชื่ออื่น
ฉัตรฟ้า
สาวสวรรค์
พวงพีเหลือง
หังลิง พนมสวรรค์
|
รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม
ลำต้นตั้งตรง
สูงได้ถึง 3 เมตร ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม
รูปไข่ กว้าง
7-38
ซม. ยาว 4-40 ซม.
ขอบใบหยักเว้า
ลึก 3-7 แฉก ดอกช่อขนาดใหญ่
ออกที่ปลายกิ่ง
กลีบเลี้ยงรูประฆังสีส้มแดง
กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว
สีส้มแดง ผล
เป็นผลสด
รูปทรงกลม
สีน้ำเงินแกมเขียวหรือดำ
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ดอก
- แก้พิษสัตว์กัดต่อย
และพิษที่เกิดจากการติดเชื้อ
แก้ตกเลือด
ราก - ขับลม
แก้วัณโรค
แก้ไข้มาลาเรีย
แก้อาการไข้ที่ถ่ายเหลว
อาเจียนเป็นเลือด
และมีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง
ต้น - แก้อักเสบเนื่องจากตะขาบ
และแมลงป่องต่อย
แก้พิษฝีผักบัว
|
4. บัวบก
Asiatic Pennywort, Tiger Herbal
Centella
asiatica (Linn.) Urban
APIACEAE
ชื่ออื่น
ผักแว่น
ผักหนอก
|
รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก
อายุหลายปี
เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน
ชอบที่ชื้นแฉะ
แตกรากฝอยตามข้อ
ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อ
ชูขึ้น 3-5 ใบ ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
รูปไต
เส้นผ่าศูนย์กลาง
2-5 ซม.
ขอบใบหยัก
ก้านใบยาว ดอกช่อ
ออกที่ซอกใบ
ขนาดเล็ก 2-3 ดอก
กลีบดอกสีม่วง
ผลแห้ง
แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบสด - ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลเปื่อย
แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
โดยใช้ใบสด 1 กำมือ
ล้างให้สะอาด
ตำละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อย
ๆ
ใช้กากพอกด้วยก็ได้
แผลจะสนิทและเกิดแผลเป็นชนิดนูน (keloid) น้อยลง
สารที่ออกฤทธิ์คือ
กรด madecassic, กรด asiatic และ asiaticoside ซึ่งช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ
ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
ที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ
มีรายงานการค้นพบฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา
อันเป็นสาเหตุของโรคกลาก
ปัจจุบัน มีการพัฒนายาเตรียมชนิดครีม
ให้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัด
น้ำต้มใบสดดื่มลดไข้
รักษาโรคปากเปื่อย
ปากเหม็น
เจ็บคอ ร้อนใน
กระหายน้ำ
ขับปัสสาวะ
แก้ท้องเสีย
|
5. ประยงค์
Aglaia
odorata Lour.
MELIACEAE
ชื่ออื่น ขะยง
ขะยม พะยงค์
ยม หอมไกล
|
รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม
สูงประมาณ 3 เมตร
มีใบดก
ปลายยอดอ่อน
หุ้มด้วยใบเกล็ดสีน้ำตาล
ใบประกอบแบบขนนก
เรียงสลับ
มีใบย่อย 5 ใบ
รูปไข่กลับ
กว้าง 1-2 ซม. ยาว 2-4 ซม. ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่ง
ลักษณะเป็นช่อโปร่ง
ดอกย่อยมีขนาดเล็กประมาณ
2 มม.
กลิ่นหอม
กลีบดอกสีเหลือง
ผลสด มี 1-2 เมล็ด
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ราก
ใช้กินถอนพิษเบื่อเมา
เป็นยาทำให้อาเจียน
|
6. ผักชีล้อม
Oenanthe
stolonifera Wall.
APIACEAE
ชื่ออื่น
ผักอันอ้อ
|
รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก
สูงประมาณ 60
ซม.
ชอบขึ้นในน้ำและที่ชื้นแฉะ
ลำต้นกลวง อวบน้ำ
ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น
เรียงสลับ
ใบย่อยรูปหอก
กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 3-5 ซม.
ขอบใบหยักฟันเลื่อย
ดอกช่อ
ออกที่ปลายยอด
กลีบดอกสีขาว
ก้านดอกย่อยยาวเท่ากัน
ผลแห้ง
แตกได้
รูปไข่กลับ
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ทั้งต้น - ใช้แก้โรคน้ำเหลืองเสีย
เป็นส่วนผสมในตำรับยาอาบ-อบสมุนไพร
เพื่อรักษาเหน็บชา
ขับเหงื่อ
|
7. ผักบุ้งทะเล
Goat's Foot Creeper
Ipomoea
pes-caprae (Linn.) R. Br.
CONVOLVULACEAE
|
รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก
เลื้อยตามผิวดิน
มักพบในพื้นที่ใกล้ทะเล
ทั้งต้นมียาวขาว
ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
กว้าง 7-11 ซม. ยาว 5-8 ซม.
ค่อนข้างหนา
โคนใบรูปหัวใจ
ปลายเว้าลึก
ดอกช่อ
ออกที่ซอกใบ
มี 4-6 ดอก
กลีบดอกสีม่วงชมพู
โคนติดกัน
ปลายบานออกคล้ายปากแตร
ผลแห้ง
แตกได้
รูปกลมหรือรูปไข่
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ - ใช้แก้พิษแมงกะพรุน
นำใบสด 10-15 ใบ
ตำละเอียด
คั้นเอาน้ำ
ทาแผลบริเวณที่ถูกแมงกะพรุน
หรือตำกับเหล้าใช้พอกก็ได้
พบว่ามีสาร damascenone ที่มีฤทธิ์ต้านฮีสตามีน
ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้
ต้านพิษแมงกะพรุนได้
|
8. พญาปล้องทอง
Clinacanthus
nutans (Burm.f.) Lindau
ACANTHACEAE
ชื่ออื่น
ผักมันไก่
ผักลิ้นเขียด
พญาปล้องคำ
พญาปล้องดำ
พญายอ
เสลดพังพอน
เสลดพังพอนตัวเมีย
|
รูปลักษณะ
ไม้พุ่มรอเลื้อย
สูง 1-3 เมตร ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม
รูปใบหอก
กว้าง 1-3 ซม. ยาว 4-12 ซม.
สีเขียวเข้ม
ดอกช่อ
ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง
กลีบดอกสีแดงส้ม
โคนกลีบสีเขียวติดกันเป็นหลอดยาว
ปลายแยกเป็น
2 ปาก
ไม่ค่อยออกดอก
ผลแห้ง
แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบสด - ใช้รักษาแผลไฟไหม้
น้ำร้อนลวก
แมลงกัดต่อย
ผื่นคัน
โดยนำใบสด 5-10 ใบ
ตำหรือขยี้ทา
ใช้ทารักษาอาการอักเสบจากเริมในปาก
โดยใช้ใบสด 1 กก.
ปั่นละเอียด
เติมแอลกอฮอล์
70% 1 ลิตร หมัก 7
วัน
แล้วกรอง
ระเหยบนเครื่องอังไอน้ำ
ให้ปริมาตรลดลงครึ่งหนึ่ง
เติมกลีเซอรินเท่าตัว
|
9. รางจืด
Thunbergia
laurifolia Linn.
THUNBERGIACEAE
ชื่ออื่น
กำลังช้างเผือก
ขอบชะนาง
เครือเขาเขียว
ยาเขียว คาย
รางเย็น
ดุเหว่า
ทิดพุด
น้ำนอง
ย่ำแย้
แอดแอ
|
รูปลักษณะ
ไม้เถาเนื้อแข็ง
ใบเดี่ยว
รูปขอบขนานหรือรูปไข่
กว้าง 4-7 ซม. ยาว 8-14 ซม.
ขอบใบเว้าเล็กน้อย
ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่ง
กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน
ใบประดับสีเขียวประสีน้ำตาลแดง
ผลแห้ง
แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบสด - ใช้คั้นน้ำ
แก้ไข้
ถอนพิษต่าง
ๆ ในร่างกาย
เช่น
อาการแพ้อาหาร
เป็นต้น
การทดลองเพื่อใช้แก้พิษที่เกิดจากยาฆ่าแมลงโพลิดอลในสัตว์
ได้ผลดีพอควร
สรุปได้ว่าอาจใช้น้ำคั้นใบสดให้ผู้ป่วยที่กินยาฆ่าแมลง
ดื่มเป็นการปฐมพยาบาล
ก่อนนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้
แต่จะไม่ให้ผลในการกินเพื่อป้องกัน
ก่อนสัมผัสยาฆ่าแมลง
|
10. ลิ้นงูเห่า
Clinacanthus
siamensis Berm.
ACANTHACEAE
|
รูปลักษณะ
ไม้พุ่มรอเลื้อย
สูง 1.5-4 เมตร ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม
รูปใบหอกหรือรูปใบหอกแกมขอบขนาน
กว้าง 2.5-4 ซม. ยาว 7-12 ซม. ดอกช่อ
ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง
กลีบดอกสีแดงส้ม
โคนกลีบสีเขียว
ติดกันเป็นหลอดยาว
ปลายแยกเป็น
2 ปาก
ผลแห้ง
แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ - ใช้ตำหรือขยี้
ทาหรือพอก
แก้พิษร้อนอักเสบ
ปวดฝี
ราก - ตำพอกแก้พิษตะขาบและแมงป่อง
|
11. ลิ้นมังกร
Sauropus
changiana S.Y.Hu.
EUPHORBIACEAE
|
รูปลักษณะ
ไม้พุ่มขนาดเล็ก
สูงได้ถึง 40 ซม. ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
รูปใบหอกกลับแกมขอบขนาน
กว้าง 4-7 ซม. ยาว 10-16 ซม.
แผ่นใบมีลายสีขาว
ดอกช่อ
ออกเป็นกระจุกตามโคนต้น
ดอกย่อยแยกเพศ
สีแดงเลือดนก
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ - ใช้ตำหรือขยี้ทาหรือพอก
แก้พิษร้อนอักเสบ
|
12. ว่านมหากาฬ
Gynura
pseudochina DC. var. hispida Thv.
ASTERACEAE
ชื่ออื่น
ดาวเรือง
|
รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก
มีรากขนาดใหญ่
ลำต้นอวบน้ำ
เลื้อยทอดยาวไปตามพื้นดิน
ชูยอดตั้งขึ้น
ปลายยอดมีขนนุ่มสั้นปกคลุม
ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
เวียนรอบต้น
รูปใบหอกกลับ
กว้าง 2.5-8 ซม. ยาว 6-30 ซม.
ขอบใบหยักห่าง
ๆ
หลังใบสีม่วงเข้ม
มีขนเส้นใบสีเขียว
ท้องใบสีเขียวแกมเทา
ดอกช่อ
ออกที่ปลายยอด
กลีบดอกสีเหลืองทอง
ผลแห้ง
ไม่แตก
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
รากและใบสด ใช้ตำ
พอกแก้ปวดบวมจากแมลงสัตว์กัดต่อย
ถอนพิษปวดแสบ
ปวดร้อน
ใช้ใบสดทดลองกับผู้ป่วยโรคเริมและงูสวัด
สรุปว่า
สารสกัดจากใบทำให้อัตราการกลับมาเป็นใหญ่ของโรคลดลง
|
13. ว่านหางจระเข้
Aloe
Aloe vera Linn. var chinensis (Haw.) Berg
ALOACEAE
ชื่ออื่น
ว่านไฟไหม้
หางตะเข้
|
รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี
สูง 0.5-1 เมตร
ข้อและปล้องสั้น
ใบเดี่ยว
เรียงรอบต้น
กว้าง 5-12 ซม. ยาว 0.3-0.8 เมตร
อวบน้ำมาก
สีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม
ภายในมีวุ้นใส
ใต้ผิวสีเขียวมีน้ำยางสีเหลือง
ใบอ่อนมีประสีขาว
ดอกช่อ
ออกจากกลางต้น
ดอกย่อย
เป็นหลอดห้อยลง
สีส้ม
บานจากล่างขึ้นบน
ผลแห้ง
แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
วุ้นสด - ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
วิธีใช้ให้เลือกใช้ใบล่างสุดของต้นก่อน
ล้างน้ำให้สะอาด
ปอกเปลือกสีเขียวออกด้วยมีดสะอาด
ล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด
เพราะอาจระคายเคืองผิวหนัง
และทำให้มีอาการแพ้ได้
ฝานเป็นแผ่นบางปิดแผล
หรือขูดเอาวุ้นใสปิดพอกรักษาแผลสด
แผลเรื้อรัง
แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
แผลไหม้เกรียมจากแสงแดด
และการฉายรังสี
อาจใช้ผ้าพันแผลที่สะอาดพันทับ
เปลี่ยนวุ้นใหม่วันละครั้ง
เช้า-เย็น
จนกว่าแผลจะหาย
ใช้วุ้นสดกินรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ดี
และใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางหลายประเภท
เช่น แชมพูสระผม
สบู่
ครีมกันแดด
เป็นต้น
สารที่ออกฤทธิ์เป็นกลัยโคโปรตีน
ชื่อ aloctin A ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบ
และเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อ
บริเวณที่เป็นแผล
แต่มีข้อเสีย
คือ สลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน
ไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้เกิน
24 ชั่วโมง
น้ำยางสีเหลืองจากใบ - เคี่ยวให้แห้ง
เรียกว่า
"ยาดำ"
เป็นยาระบายชนิดเพิ่มการบีบตัวของลำไส้ใหญ่
|