1. กระแจะ
Naringi
crenulata (Roxb.) Nicolson
(Hesperethusa
crenulata (Roxb.) Roem.)
RUTACEAE
ชื่ออื่น ขะแจะ
ตุมตัง พญายา
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก
สูง 3-8 เมตร
กิ่งก้านมีหนาม
ใบประกอบแบบขนนก
เรียงสลับ
ใบย่อย 4-13 ใบ รูปวงรีแกมไข่สลับ
กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 2-7 ซม.
ก้านใบแผ่เป็นปีก
ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ
กลีบดอกสีขาว
ผล เป็นผลสด
รูปทรงกลม
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
แก่น - ใช้เป็นยาดับพิษร้อน
ดองเหล้ากินแก้กษัย (การป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ
ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม
ซูบผอม
โลหิตจาง)
ลำต้น - ใช้ต้มน้ำดื่ม
ครั้งละครึ่งแก้ว
วันละ 3 ครั้ง เช้า-กลางวัน-เย็น
แก้อาการโรคผิวหนังมีผื่นคัน
เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด
คันมาก มักมีไข้ร่วมด้วย
แก้ปวดตามข้อ
ปวดเมื่อย
เส้นตึง
แก้ร้อนใน
เปลือกต้น - แก้ไข้
บำรุงจิตใจให้ชุ่มชื่นแจ่มใส
|
2. กระทงลาย
Celastrus
paniculatus Willd.
CELASTRACEAE
ชื่ออื่น กระทุงลาย
โชด นางแตก
มะแตก
มะแตกเครือ
มักแตก
|
รูปลักษณะ
ไม้เถารอเลื้อย
เนื้อแข็ง ใบเดี่ยว
เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน
กว้าง 2.5-4 ซม. ยาว 6-8 ซม. ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ
กลีบดอกสีเขียว
ผลแห้ง แตกได้
รูปทรงกลมหรือรูปไข่
เมล็ดมีเยื่อสีน้ำตาลแดง
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ราก - ใช้เป็นยาแก้ไข้
แก้ไข้มาลาเรีย
ใบ - รักษาโรคบิด
แก่น - รักษาวัณโรค
ผล - แก้ลมจุกเสียด
บำรุงโลหิต
เมล็ด - พอกหรือรับประทานรักษาโรคปวดตามข้อ
กล้ามเนื้อและอัมพาต
น้ำมันในเมล็ด - รักษาโรคเหน็บชา
และเป็นยาขับเหงื่อ
|
3. โกฏจุฬาลำพา
Artemisia vulgaris Linn.
ASTERACEAE
|
รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก
สูงได้ถึง 1.5 เมตร
รากมีกลิ่นหอม
ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
รูปไข่หรือรูปใบหอก
ขอบหยักเว้า
ลึกเป็นพู ดอกช่อ
แยกแขนง
ประกอบด้วยช่อย่อยเป็นกระจุกกลม
ขนาดเล็กออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง
มีชั้นใบประดับ
กลีบดอกสีเหลืองอ่อน
ผลแห้ง ไม่แตกเมล็ด
รูปขอบขนานหรือรูปไข่
ผิวเกลี้ยง
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบและช่อดอกแห้ง - ใช้แก้ไข้ที่มีผื่น
เช่น หัด สุกใส
แก้ไอ
|
4. คนทา
Harrisonia
perforata (Blanco) Merr.
SIMAROUBACEAE
ชื่ออื่น กะลันทา
สีฟ้น
สีฟันคนตาย
สีฟันคนทา
จี้ จี้หนาม
สีเตาะ หนามจี้
|
รูปลักษณะ
ไม้พุ่มแกมเถา
กิ่งก้านมีหนาม
ยอดอ่อนมีสีแดง
ใบประกอบ
แบบขนนกเรียงสลับ
มีครีบที่ก้านและแกนใบ
ใบย่อยรูปวงรีหรือรูปไข่
กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 2-2.5 ซม.
ขอบใบหยัก ดอกช่อ
ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง
กลีบดอกด้านนอกสีแดงแกมม่วง
ด้านในสีนวล
ผล เป็นผลสด
ค่อนข้างกลม
ใบ ผล และราก
มีรสขม
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ราก - ใช้เป็นยาแก้ไข้ทุกชนิด
|
5. จันทน์ชะมด
Aglaia
pyramidata Hance
MELIACEAE
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น
สูง 10-20 เมตร ใบประกอบแบบขนนก
เรียงสลับ
ใบย่อยรูปขอบขนานแกมใบหอก
กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 7-10 ซม. ดอกช่อ
แยกแขนง
ออกที่ซอกใบ
ดอกย่อยขนาดเล็ก
กลีบดอกสีเหลืองอ่อน
ผลเป็นผลสด
รูปไข่หรือทรงกลม
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
แก่น - แก่นจันทน์ชะมดมีรสขม
หอม
ใช้เป็นยาแก้ไอ
กระหายน้ำ
อ่อนระโหย
|
6. เท้ายายม่อม
Clerodendrum
petasites S. Moore
VERBENACEAE
ชื่ออื่น กาซะลอง
จรดพระธรณี ดอกคาน
ปิ้งขม
ปิ้งหลวง
พญารากเดียว
พญาเล็งจ้อน
เล็งจ้อนใต้
พมพี พินพี่
ไม้เท้าฤาษี
หญ้าลิ้นจ้อน
|
รูปลักษณะ
ไม้พุ่มขนาดเล็ก
สูง 1-2.5 เมตร
ลำต้นตรง
บริเวณปลายกิ่งเป็นสันสี่เหลี่ยม
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือรอบข้อ
ๆ ละ 3-5 ใบ
รูปวงรีแกมขอบขนาน
หรือรูปขอบขนานแกมใบหอกกลับ
กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 12-18 ซม. ดอกช่อ
แยกแขนง
ออกที่ปลายกิ่ง
กลีบดอกสีขาว
เชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว
ผล เป็นผลสด
รูปทรงกลม
เมื่อสุกสีดำ
มีกลีบเลี้ยงสีแดงติดอยู่
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ราก - ใช้เป็นยาขับเสมหะลงเบื้องต่ำ
ขับพิษไข้ แก้ร้อนใน
กระหายน้ำ
แก้อาเจียน
หืดไอ
และตำพอกแก้พิษฝี
|
7. บอระเพ็ด
Tinospora
crispa (Linn.)
Miers ex Hook. f. et Thoms.
MENISPERMACEAE
ชื่ออื่น เครือเขาฮอ
จุ่งจิง
เจตมูลหนาม ตัวเจตมูลยาน
เถาหัวด้วน
หางหนู
|
รูปลักษณะ
ไม้เถาเลื้อยพัน
เถามีขนาดใหญ่
มีปุ่มปมมาก
ทุกส่วนมีรสขมมาก
ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
รูปหัวใจ กว้างและยาว
6-10
ซม. ดอกช่อ
ออกตามเถา
และที่ซอกใบ
ดอกย่อยมีขนาดเล็กมาก
ไม่มีกลีบดอก
ผล เป็นผลสด
ค่อนข้างกลม
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เถา - ใช้เป็นยาแก้ไข้
ขับเหงื่อ
แก้กระหายน้ำ
แก้ร้อนใน
โดยนำเถาสดขนาดยาว
2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม)
ต้มคั้นเอาน้ำดื่ม
หรือต้มเคี่ยวกับน้ำ
3 ส่วนจนเหลือ
1 ส่วน
ดื่มก่อนอาหารวันละ
2 ครั้ง
เช้า-เย็น หรือเมื่อมีไข้
นอกจากนี้ใช้เป็นยาขมเจริญอาหารด้วย
|
8. บัวบก
Asiatic Pennywort, Tiger Herbal
Centella
asiatica (Linn.) Urban
APIACEAE
ชื่ออื่น ผักแว่น
ผักหนอก
|
รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก
อายุหลายปี
เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน
ชอบที่ชื้นแฉะ
แตกรากฝอยตามข้อ
ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อ
ชูขึ้น 3-5 ใบ ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
รูปไต เส้นผ่าศูนย์กลาง
2-5 ซม.
ขอบใบหยัก
ก้านใบยาว ดอกช่อ
ออกที่ซอกใบ
ขนาดเล็ก 2-3 ดอก
กลีบดอกสีม่วง
ผลแห้ง
แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบสด - ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลเปื่อย
แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
โดยใช้ใบสด 1 กำมือ
ล้างให้สะอาด
ตำละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อย
ๆ
ใช้กากพอกด้วยก็ได้
แผลจะสนิทและเกิดแผลเป็นชนิดนูน (keloid) น้อยลง
สารที่ออกฤทธิ์คือ
กรด madecassic, กรด asiatic และ asiaticoside ซึ่งช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ
ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
ที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ
มีรายงานการค้นพบฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา
อันเป็นสาเหตุของโรคกลาก
ปัจจุบัน
มีการพัฒนายาเตรียมชนิดครีม
ให้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัด
น้ำต้มใบสดดื่มลดไข้
รักษาโรคปากเปื่อย
ปากเหม็น เจ็บคอ
ร้อนใน
กระหายน้ำ
ขับปัสสาวะ
แก้ท้องเสีย
|
9. ประทัดใหญ่
Quassia
Quassia amara Linn.
SIMAROUBACEAE
ชื่ออื่น ประทัด
ประทัดจีน
|
รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม
สูง 1.5-3 ซม. ใบประกอบแบบขนนก
เรียงสลับ
รูปไข่กลับหรือรูปวงรี
กว้าง 2-3 ซม. ยาว 3-5 ซม.
เส้นใบสีแดง
ก้านและแกนใบรวมแผ่ออกเป็นครีบ
ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่ง
กลีบดอกสีแดงสด
ผลกลุ่ม
ผลย่อยรูปไข่กลับ
สีแดงคล้ำ
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ราก - ใช้เป็นยาแก้ไข้
ยาขมเจริญอาหารและช่วยย่อยอาหาร
|
10. ปลาไหลเผือก
Eurycoma
lingifolia Jack.
SIMAROUBACEAE
ชื่ออื่น กรุงบาดาล
คะนาง ชะนาง
ตรึงบาดาล
แฮพันชั้น
เพียก
หยิกบ่อถอง
หยิกไม่ถึง
เอียนด่อน ไหลเผือก
ตุงสอ
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น
สูง 4-6 เมตร
ลำต้นตรง
ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน
ใบประกอบแบบขนนก
เรียงสลับ ออกเป็นกระจุกบริเวณปลายกิ่ง
ใบย่อยรูปไข่แกมวงรี
กว้าง 2-3 ซม. ยาว 5-7 ซม.
สีเขียวเข้ม
ยอดและใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง
ดอกช่อ
ออกที่ซอกใบ
ดอกย่อยขนาดเล็ก
กลีบดอกสีม่วงแดง
ผลเป็นผลสด
รูปยาวรี
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ราก - ใช้เป็นยาแก้ไข้ทุกชนิด
รวมทั้งไข้จับสั่น
พบว่าสารที่ออกฤทธิ์เป็นสารที่มีรสขม
ได้แก่ eurycomalactone,
eurycomanol และ eurycomanone สารทั้งสามชนิดนี้
มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย
ชนิดฟัลซิพารัมในหลอดทดลองได้
จัดเป็นสมุนไพรที่มีศักยภาพ
ควรศึกษาวิจัยต่อไป
|
11. พญาสัตบรรณ
Blackboard Tree, Devil Tree
Alstonia
scholaris (Linn.) R. Br.
APOCYNACEAE
ชื่ออื่น สัตบรรณ
ตีนเป็ด
ตีนเป็ดขาว
ชบา ยางขาว หัสบรรณ
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น
สูงถึง 30 เมตร
เปลือกต้นสีเทา
มียางขาวมาก
กิ่งแตกออกรอบข้อ
ใบเดี่ยว
เรียงรอบข้อ
ๆ ละ 6-9 ใบ
รูปขอบขนานแกมใบหอกกลับหรือรูปไข่กลับ
กว้าง 2-6 ซม. ยาว 5-18 ซม.
ปลายทู่กลม
หรือเว้าเล็กน้อย
ดอกช่อ
ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง
กลีบดอกสีขาว
แกมเหลือง ผลเป็นฝักออกเป็นคู่
รูปกลมยาว
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เปลือกต้น - ใช้แก้ไข้หวัด
หลอดลมอักเสบ
แก้บิด สมานลำไส้
การทดลองในสัตว์พบว่า
สารสกัดจากเปลือกต้น
มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด
รักษาแผลเรื้อรัง
และต้านเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
|
12. พะยอม
Shorea
roxburghii G. Don
DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น กะยอม
ขะยอมดง แคน
พะยอมดง
พะยอมทอง
ยางหยวก
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น
สูง 15-30 เมตร ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
รูปขอบขนาน
กว้าง 4-6 ซม. ยาว 8-12 ซม.
ขอบใบเป็นคลื่น
ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่ง
กลีบดอกสีขาว
กลิ่นหอม ผลแห้ง
รูปกระสวย
มีปีกยาว 3 ปีก
ปีกสั้น 2 ปีก
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เปลือกต้น - ต้นน้ำดื่มเป็นยาฝาดสมาน
แก้ท้องเดินและสำไส้อักเสบ
สารที่ออกฤทธิ์คือ
แทนนิน นอกจากนี้ยังใช้เปลือกต้นเป็นยากันบูดด้วย
ดอก - ใช้เป็นยาลดไข้
เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ
|
|
13. ฟ้าทะลาย
Andrographis
paniculata (Burm. f.) Nees.
ACANTHACEAE
ชื่ออื่น
ฟ้าทะลายโจร
หญ้ากับงู
น้ำลายพังพอน
|
รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก
สูง 30-60 ซม.
ทั้งต้นมีรสขม
ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม
แตกกิ่งออกเป็นพุ่มเล็ก
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม
รูปไข่หรือรูปใบหอก
กว้าง 2-3 ซม. ยาว 4-8 ซม.
สีเขียวเข้ม
เป็นมัน ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ
ดอกย่อยขนาดเล็ก
กลีบดอกสีขาว
โคนกลีบดอกติดกัน
ปลายแยกออกเป็น
2 ปาก
ปากบนมี 3 กลีบ
มีเส้นสีแดงเข้มพาดตามยาว
ปากล่างมี 2 กลีบ ผลเป็นฝัก
สีเขียวอมน้ำตาล
ปลายแหลม เมื่อผลแก่จะแตกเป็นสองซีก
ดีดเมล็ดออกมา
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบและทั้งต้น - ใช้เฉพาะส่วนที่อยู่บนดิน
ซึ่งเก็บก่อนที่ดอกจะบาน
เป็นยาแก้ไข้
แก้เจ็บคอ
แก้ท้องเสีย
เป็นยาขมเจริญอาหาร
ขนาดที่ใช้คือ
พืชสด 1-3 กำมือ
ต้มน้ำดื่มก่อนอาหาร
วันละ 3 ครั้ง หรือใช้พืชแห้งบดเป็นผงละเอียด
ปั้นเป็นยาลูกกลอน
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
0.8 ซม.
กินครั้งละ 3-6 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง
ก่อนอาหารและก่อนนอน
สำหรับผงฟ้าทะลายที่บรรจุแคปซูล
ๆ ละ 500 มิลลิกรัม
ให้กินครั้งละ
2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง
ก่อนอาหารเช้า-เย็น
อาการข้างเคียงที่อาจพบคือ
คลื่นไส้
|
14. มะปราง
Plum Mango
Bouca
macrophylla Griff.
ANACARDIACEAE
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น
สูง 10-20 เมตร
กิ่งก้านห้อยลง
เป็นสันสี่เหลี่ยม
ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม
รูปขอบขนานแกมใบหอก
กว้าง 3-7 ซม. ยาว 12-20 ซม.
เนื้อใบเหนียวเป็นมัน
ดอกช่อ
แยกแขนงออกที่ซอกใบ
ดอกย่อยสีเหลืองขนาดเล็ก
ผล เป็นผลสด
รูปวงรี
สีเหลืองหรือส้ม
ฉ่ำน้ำ
รสเปรี้ยว
ใบเลี้ยงสีม่วง
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ราก - มีรสเย็น
ใช้ถอนพิษไข้
พิษสำแดง แก้ไข้กลับไข้ซ้ำ
ไข้มีพิษร้อน
|
15. มะฮอกกานี
ใบใหญ่
Broad Leaf Mahogany,
False Mahogany,
Honduras
Mahogany
Swietenia
macrophylla King
MELIACEAE
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น
ผลัดใบ สูง 15-25 เมตร
ใบประกอบแบบขนนก
เรียงสลับ ใบย่อย
รูปวงรีเบี้ยว
โค้งเล็กน้อย
กว้าง 2.5-6 ซม. ยาว 6-15 ซม. ดอกช่อ
ออกที่ซอกใบ
ใกล้ปลายกิ่ง
กลีบดอกสีเหลืองอ่อน
หรือเหลืองแกมเขียว
ผลแห้ง
แตกได้
รูปไข่ เปลือกหนาแข็ง
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เปลือกต้น - ใช้เป็นยาแก้ไข้
เจริญอาหาร
|
16. โมกหลวง
Kurchi
Holarrhena
pubescens (Buch.-Ham.) Wall.
ex G. Don (H. antidysenterica Wall.)
APOCYNACEAE
ชื่ออื่น พุด
พุทธรักษา มูกมันน้อย
มูกมันหลวง
มูกหลวง
โมกเขา โมกทุ่ง
โมกใหญ่
ยางพุด
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น
สูง 8-15 เมตร
ทุกส่วนมียางขาว
ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม
รูปไข่หรือรูปวงรี
กว้าง 5-12 ซม. ยาว 10-12 ซม.
ผิวใบสีเขียวแกมเหลือง
ท้องใบมีขนนุ่ม
ดอกช่อ ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง
กลีบดอกสีขาว
บริเวณกลางดอกสีเหลือง
ผลเป็นฝักคู่
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เปลือก -ใช้แก้บิด
เจริญอาหาร
พบว่ามีแอลคาลอยด์ conessine ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อบิด
และเคยใช้เป็นยารักษาโรคบิดอยู่ระยะหนึ่ง
ปัจจุบันมีการใช้น้อย
เนื่องจากพบฤทธิ์ข้างเคียงต่อระบบประสาท
|
17. ระย่อมน้อย
Rauwolfia
Rauvalfia
serpentina (Linn.) Benth. ex Kurz.
APOCYNACEAE
ชื่ออื่น กะย่อม
เข็มแดง
|
รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม
สูง 30-70 ซม.
มียางขาว ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม
หรือรอบข้อ
ๆ ละ 3 ใบ รูปวงรีหรือรูปใบหอก
กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-20 ซม. ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่ง
กลีบเลี้ยงสีขาวแกมเขียว
เมื่อกลีบดอกโรยจะเปลี่ยนเป็นสีแดง
กลีบดอกสีขาว
โคนกลีบเป็นหลอดสีแดง
ผลเป็นผลสด
รูปวงรี
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ราก - ตำรายาไทยใช้แก้ไข้
เจริญอาหาร ลดความดันโลหิต
แก้บ้าคลั่ง
ทำให้นอนหลับ
ขับพยาธิ
พบว่ารากมีแอลคาลอยด์
reserpine ซึ่งมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต
และกล่อมประสาท
อาการข้างเคียงของการใช้ยานี้คือ
ทำให้ฝันร้าย
ซึมเศร้า
คัดจมูก
|
18. รางจืด
Thunbergia
laurifolia Linn.
THUNBERGIACEAE
ชื่ออื่น กำลังช้างเผือก
ขอบชะนาง
เครือเขาเขียว
ยาเขียว คาย
รางเย็น ดุเหว่า
ทิดพุด
น้ำนอง
ย่ำแย้
แอดแอ
|
รูปลักษณะ
ไม้เถาเนื้อแข็ง
ใบเดี่ยว
รูปขอบขนานหรือรูปไข่
กว้าง 4-7 ซม. ยาว 8-14 ซม.
ขอบใบเว้าเล็กน้อย
ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่ง
กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน
ใบประดับสีเขียวประสีน้ำตาลแดง
ผลแห้ง
แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบสด - ใช้คั้นน้ำ
แก้ไข้
ถอนพิษต่าง
ๆ ในร่างกาย เช่น
อาการแพ้อาหาร
เป็นต้น การทดลองเพื่อใช้แก้พิษที่เกิดจากยาฆ่าแมลงโพลิดอลในสัตว์
ได้ผลดีพอควร
สรุปได้ว่าอาจใช้น้ำคั้นใบสดให้ผู้ป่วยที่กินยาฆ่าแมลง
ดื่มเป็นการปฐมพยาบาล
ก่อนนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้
แต่จะไม่ให้ผลในการกินเพื่อป้องกัน
ก่อนสัมผัสยาฆ่าแมลง
|
19. ลักกะจั่น
Dracaena
loureiri Gagnep.
DRACAENACEAE
ชื่ออื่น จันทน์แดง
จันทน์ผา
ลักกะจันทน์
|
รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม
สูงได้ถึง 4 เมตร ตรงปลายมีข้อถี่
ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
รูปดาบ กว้าง
5-7 ซม. ยาว 50-70 ซม.
ออกรวมเป็นกลุ่มที่ยอด
เนื้อใบกรอบแข็ง
ดอกช่อขนาดใหญ่
ออกที่ปลายยอด
โค้งห้อยลง
ดอกย่อยขนาดเล็ก
กลีบดอกสีนวล
ผลสด
รูปกลม
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
แก่นที่ราลง - มีสีแดง
ใช้เป็นยาเย็น
แก้ไข้ทุกชนิด
การทดลองในสัตว์
พบว่า
สารสกัดด้วยน้ำมีฤทธิ์ลดไข้
แต่ต้องใช้ปริมาณมากกว่าแอสไพริน 10 เท่า
และออกฤทธิ์ช้ากว่าแอสไพริน
3 เท่า
|
20. ว่านธรณีสาร
Phyllanthus
pulcher Wall. ex Muell. Arg.
EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น กระทืบยอบ
ก้างปลา
ก้างปลาดิน
ดอกใต้ใบ
ก้างปลาแดง ครีบยอด
คอทราย
ตรึงบาดาล
|
รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม
สูงไม่เกิน 1.5 เมตร ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
รูปไข่แกมวงรี
กว้าง 0.8-1.3 ซม. ยาว 1.5-2.5 ซม. ดอกเดี่ยว
ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง
แยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน
ดอกตัวผู้ออกเป็นกระจุกใกล้โคนกิ่ง
ดอกตัวเมียมักออกตอนปลายกิ่ง
สีเขียวอ่อน
โคนกลีบสีแดงเข้ม
ก้านดอกยาว ผลแห้ง
แตกได้
ค่อนข้างกลม
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบแห้ง - ใช้บดเป็นผงแทรกพิมเสน
กวาดคอเด็กเพื่อลดไข้
และรักษาแผลในปาก
ภายนอกใช้พอกฝี
บรรเทาอาการบวมและคัน
|
21. สะเดาบ้าน
Neem Tree
Azadirachta
indica A.Juss.
var. siamensis
Valeton
MELIACEAE
|
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น
สูง 4-10 เมตร
ทุกส่วนมีรสขม
ยอดอ่อนที่แตกใหม่
มีสีน้ำตาลแดง
เปลือกต้นสีเทาแตกเป็นร่อง
ใบประกอบแบบขนนก
เรียงสลับ
ใบย่อยรูปใบหอก
กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-8 ซม.
ขอบใบหยักฟันเลื่อย
ฐานใบไม่เท่ากัน
ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่ง
ขณะกำลังแตกใบ่ออน
กลีบดอกสีขาว
ผล เป็นผลสด
รูปรี มี 1 เมล็ด
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ก้านใบและราก - ใช้เป็นยาแก้ไข้ทุกชนิด
เปลือกต้น - แก้ท้องเสีย
เมล็ดและใบ - มีสาร azadirachtin ซึ่งใช้เป็นยาฆ่าแมลงศัตรูพืช
โดยใช้สะเดาบ้าน
ใบตะไคร้หอมและเหง้าข่าแก่
ชนิดละ 2 กก.
บดละเอียด
หมักค้างคืนกับน้ำ
1 ปีบ ฉีดพ่นในอัตราส่วนน้ำยา
300-500 ซีซี
ต่อน้ำ 1 ปีบ
|
22. หอมแดง
Eleutherine americana Merr.
IRIDACEAE
ชื่ออื่น ว่านไก่แดง
ว่านเข้า
ว่านหมาก
ว่านเพลาะ ว่านหอมแดง
|
รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี
มีหัวใต้ดินคล้ายหัวหอม
รูปรียาว
ใบเกร็ดที่หุ้มหัวใต้ดิน
สีม่วงแแดง ใบเดี่ยว
ออกเป็นกระจุก
3-4 ใบ รูปดาบ
กว้าง 2-4 ซม. ยาว 20-40 ซม.
เส้นใบขนาน
จีบตามยาวคล้ายพัด
ดอกช่อ
แทงจากลำต้นใต้ดิน
กลีบดอกสีขาว
ผลแห้ง
แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
หัวใต้ดินสด - ใช้ผสมรวมกับเหง้าเปราะหอม
ตำหยาบ ๆ ห่อผ้าสุมหัวเด็ก
แก้หวัดคัดจมูก
และกินเป็นยาขับลม
|
|